วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

มข. จัดการประชุมเอเปคนานาชาติ ครั้งที่ 14

มข. จัดการประชุมเอเปคนานาชาติ ครั้งที่ 14
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข. จัดการประชุมเอเปคนานาชาติ ครั้งที่ 14


เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 พ.ย. ที่ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน (IRDTP) มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน
เปิดการประชุมเอเปคในยุคดิจิตอล : ปัญญาประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ครั้งที่ 14
(14th APEC-KHON KAEN INTERNATIONAL CONFERENCE 2019 “APEC-KKU MEETING IN DIGITAL ERA: AI FOR EDUCATION”) ระหว่างวันที่ 18-20 พ.ย.จากการที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือกันทางด้านการทรัพยากรมนุษย์ใน APEC Human Resource Development Working Group (HRDWG) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 โดยมี Prof.Masami lsoda, University of Tsukuba ,Japan ,Prof.Hee-chan Lew, President of Korea Nationnal University of Education, Korea, Prof.Riberto Araya University of Chile, Chile,รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มข. รศ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มข. รศ.ไพบูลย์ ดาวสดใส คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มข. ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายการศึกษา รศ.ดร.ชาญวิทย์ ลีลายุวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ มข. ผศ.ดร.ดวงกนก ธนังธีรพงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ดร. ลักษมณ สมานสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอุดมศึกษาระหว่างประเทศ สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมผู้บริหารและบุคลากร สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ร่วมสัมมนา

รศ.นพ.ชาญชัย   พานทองวิริยะกุล
       รศ.นพ.ชาญชัย รักษาการอธิการบดี มข. กล่าวว่าต่อไปนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เนื่องจากว่าทุกท่านคงทราบดีว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราในอนาคตจริงๆ นับตั้งแต่ปัจจุบัน และอนาคตจะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจะต้องเตรียมบุคลากรเป็นทรัพยากรบุคคลให้เข้าใจเรื่อง AI ด้วยการเตรียมการเริ่มตั้งแต่การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลไปยังระดับประถม และสืบเนื่องไปต่อที่ระดับมัธยม การประชุมวิชาการนานาชาติ. “ การประชุมเอเปคในยุคดิจิตอล : ปัญญาประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ครั้งที่ 14 14th APEC-KHON KAEN INTERNATIONAL CONFERENCE 2019 “APEC MEETING IN DIGITAL ERA: AI FOR EDUCATION”


ผลประโยชน์ที่ได้คือเป็นการพัฒนาการทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะหัวข้อ ที่ได้หยิบเรื่องปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อที่จะมาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาข้อสรุปว่าเราจะจัดการศึกษาให้เด็กของเรามีความพร้อมที่จะมีความรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างไร ดังนั้นความร่วมมือ การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 14 โดยการประชุมเป็นความร่วมมือของ 2 มหาลัยคือมหาวิทยามาลัย University of Tsukuba ของประเทศญี่ปุ่นและมหาลัยขอนแก่น


รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่าการที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือกันทางด้านการทรัพยากรมนุษย์ ใน APEC Human Resource Development Working Group (HRDWG)ปีมาตั้งแต่ปีพ.ค. 2006 โดยมีชุดโครงการที่สมาชิกของความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจเอเปก เข้าร่วมมากจึง 21 สมาชิกโดยมีชุดโครงการที่ทำร่วมกันมาทั้งหมด 4 ชุด เน้นการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับทศวรรษที่ 21 ทั้งหมด ได้แก่ APEC Lesson study:Best Practice from Japan (2006- 2009)2. APEC Lesson study:Emergency Preparedness ( 2010 -2012) 3.APEC Lesson study:Cross-border Education
( 2013 -2018 ) 4.Inclusive Mathematics Education for Sustainability in Distal Era


(2019 – 2011)ชุดโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาโดยตลอดจาก APEC Central Fund , MEXT, Japan CRIED , University of Tsukuba รวมทั้งงบประมาณจากประเทศไทยได้แก่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการประชุมในปีนี้ซึ่งเป็นปีแรกของชุดโครงการครั้งที่ 4 ฝ่ายการศึกษาร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียนและศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษารับผิดชอบการจัดประชุมในหัวข้อ “APEC -KKU Meeting in Digital Era: AI for Education ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Curriculum Specialist และ AI for Education จากสมาชิก “APECเข้าร่วมมากกว่า 10 ประเทศรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทย การประชุมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับอนาคตในทุกสาขาที่สนใจจะขอทุนสนับสนุนการวิจัยใน Platform 1ของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เรื่อง Man Power และ AI for All รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ในการประชุมครั้งนี้ได้มี 6 ผู้เชี่ยวชาญที่มาบรรยายพิเศษและผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์มากกว่า 30 ท่านจาก7 ประเทศในเขตเศรษฐกิจเอเปค

รศ.ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์
      รศ.ดร.ไมตรี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มข.กล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องยาวนานมา 14 ปี โดยที่ทางกระทรวงของไทยกับญี่ปุ่นร่วมมือกัน อย่างที่ท่านรักษาการอธิการบดีฯกล่าวคนทำงานจะเป็นมหาลัยขอนแก่นกับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น(University of Tsukuba)
แต่ว่าประเทศที่เข้าร่วมคือ 21 เขตเศรษฐกิจซึ่ง ยุคแรกๆก็หา innovation มาก่อน ต่อมาก็เป็นเรื่องการจัดการภัยพิบัติ และต่อมาก็เป็นเรื่อง Cross Border เคชั่นเป็นการศึกษาที่มันไม่มีพรมแดน ล่าสุด 3 ปีต่อจากนี้ไปจะเน้นเรื่อง AI for Education เพราะว่าสังคมไทย ต่อไปจากนี้ไปเรื่อง AI กับมนุษย์มันจะอยู่ด้วยกันยังไง เพราะ ไม่งั้นต่อจากนี้ไประบบโรงเรียนของเราทั้งหมดต้องตอบโจทย์อันนี้ให้ได้เหมือนอย่างที่ใช้ในการบอกคือการจะทำการศึกษาจากนี้ไปไม่สามารถที่จะหลีกหนีเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง AI ได้ก็เลยเชิญนักวิชาการจากทั่วโลกทั้งในแง่ของนักออกแบบหลักสูตรแล้วก็ AIS Special List รวมทั้งคอมพิวเตอร์ มารวมตัวกันเพื่อจะดูว่าต่อไปนี้โรงเรียนจะไปทางไหน


รศ.ดร.ไมตรี กล่าวอีกว่าพูดให้เข้าใจง่ายๆมันจะเกี่ยวข้องกับตัวหุ่นยนต์ Robot แล้วก็วิธีการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Big Beta ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 เรื่องการเกี่ยวข้องกับเรื่อง AI ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน โครงการปีนี้นอกเหนือจากมหาลัยขอนแก่นแล้วก็ยังมีมหาลัยที่ดีจากประเทศชิลีซึ่งอยู่ในกลุ่มเอเปคถือว่าร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการที่จะให้จุดเน้นเรื่องพัฒนาทักษะการคิดที่เรียกว่าในภาษาอังกฤษว่าคอมพิวเตอร์ Thinking หรือถ้าพูดเป็นไทยง่ายๆคือการคิดแบบที่หุ่นยนต์ AI ที่คิดมันคือยังไง เราต้องรู้แล้วก็รวมทั้งวิธีการคิดทางเศรษฐกิจซึ่งต้องเอาไปจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ จะทำยังไงยังไง มันทำงานยังไง ต้องเข้าใจ คอมพิวเตอร์ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องทำตัวแบบคอมพิวเตอร์ แต่ต้องมาโทษตัวเรา ที่ต้องรู้ว่าคอมพิวเตอร์มันคิดแบบนี้แล้วอะไรที่คอมพิวเตอร์คิดไม่ได้ หรือส่วนที่คอมพิวเตอร์มันไม่ได้คืออะไร ต้องดูทั้งสองเรื่องของเราจะจัดการหลักสูตรยังไง


รศ.ดร.ไมตรี กล่าวด้วยว่าดังนั้นเลยต้องมีเหมือนกับข้อเสนอแนะให้กับโรงเรียนทั้งโลกซึ่งยังไม่รู้ว่าจะจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะไปสอนคนให้คิดแบบนี้ได้อย่างไร เป็นเป้าหมายของโครงการฯนี้ของ มข.ถือว่าสถาบันที่เป็นชั้นนำของเขตเศรษฐกิจทั้งหมดเข้าร่วมในโครงการนี้คือสิ่งที่เราต้องการที่จะเป็นข้อเสนอแนะนำเป็นข้อเสนอแนะที่แต่ละ economy จะต้องเอาไปใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงความยากก็จะอยู่ตรงเวลามนุษย์เราคิดเนี่ยเราต้องใช้ภาษาแม่เราในการคิด

Prof.Masami lsoda University of Tsukuba ,Japan
Prof.Masami lsoda University of Tsukuba ,Japan กล่วว่าโครงการประชุมเอเปคในยุคดิจิตอล : ปัญญาประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ครั้งที่ 14 เริ่มต้นระหว่างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับมหาวิทยาลัยUniversity of Tsukuba ,Japan ที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ อย่างแท้จริงและพัฒนาโดย MRT ที่จะให้เด็กใช้ในการในการเรียนเรื่องหุ่นยนต์หรือเรื่อง AI แต่เราได้ทำเป็นภาษาไทยเพื่อให้เด็กไทยได้คิดโดยใช้ภาษาไทยก็ถือว่าเป็นผู้นำในการที่จะ ทำซอฟแวร์ตรงนี้โดยความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจต่างๆในทิศทางที่เรากำลังเน้นเรื่อง AI formation

Prof.Hee-chan Lew Korea Nationnal University of Edycation Korea

      ด้านProf.Hee-chan Lew Korea Nationnal University of Edycation Korea กล่าวว่าอย่างที่ทุกคนได้พูดแล้วก็พูดว่าเราอยู่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ก็อย่างที่ทราบว่ายุคนี้ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปหมดจะเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงเลย Please assist แบบที่ทำงานธรรมดาก็ได้จริงอยู่ แต่ก็ทำงานแทนได้เฉพาะส่วนนั้นเข้ามาแทนครูที่จะสามารถฝึกการคิดขั้นสูงของคนไม่ได้สูงมาก หากมหาลัยของท่านจะร่วมมือกับทางมหาลัยขอนแก่นของในการที่จะเป็นครูที่จะสามารถเป็นครูที่มีคุณภาพสูงและเป็นผู้นำในด้านนี้ เราต้องการโปรแกรมการผลิตครูแบบใหม่เข้าสอน

Prof.Riberto Araya University of Chile, Chile

Prof.Riberto Araya University of Chile, Chile กล่าวว่าAi นับได้ว่าเป็นพลังงานชนิดใหม่ของศตวรรษนีเไปแล้ว osteoclastogenesis จินตนาการว่ามีไฟฟ้า มันสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในโลกนี้ แต่เรามี AI ที่มันจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่าที่ไฟฟ้า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรอบปีที่ผ่านมา integrase ของการที่เราจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนี้เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้คือหัวใจสำคัญก็คือเรื่องการศึกษา working ต้องขออนุญาตใช้คำเดิมแบบที่เพิ่งพูดไปเมื่อสักครู่นี้ว่า งานที่จะทำเกี่ยวกับ AI for Education มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเช่นต้นทุนการทำงานใน Apex มาโดยตลอดสิบกว่าปีอย่างที่มหาลัยขอนแก่น รวมทั้งทำงานร่วมกันมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าด้วยการร่วมมือในระดับนานาชาติเท่านั้นที่จะทำให้เราได้สามารถใช้ประโยชน์ในระดับลึกแล้วก็ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในยุค AI

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads