วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

“มข.”เปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings และ Vconf KKU Onsite

“มข.”เปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings และ Vconf KKU Onsite
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“มข.”เปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings และ Vconf KKU Onsite

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุม APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Al for Education รูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings และ Vconf KKU Onsiteเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา ตลอดจน การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก


เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 มกราคม 2565 ที่ ห้อง Smart Class ชั้น 4 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดAPEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Al for Education รูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings และ Vconf KKU Onsiteโดยมี ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนวิชาชีพครู สำหรับอาเชียน รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผอ. วัฒนาพร สุขพรต ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายไวยากรณ์ ยะนะโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู ร่วมกิจกรรมดังกล่าว

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากคำกล่าวรายงานของ รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเชียน ทำให้เห็นว่า โครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Alfor Education ในครั้งนี้ มีความสำคัญในหลากหลายมิติ ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา (AI for Education) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่มีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก อีกทั้งยังตอบโจทย์และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะการคิดของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาทักษะการคิดที่จำเป็น ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งได้แก่ Computational Thinking หรือ การคิดเชิงคำนวณ-และStatistical Thinking การคิดเชิงสถิติ


รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวด้วยว่าในปัจุบัน ปัญญาประดิษ หรือ A มีความสำคัญอีกในหลายกหลายแง่ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่คนควรรู้ อาทิเช่น ความสำคัญในแง่ของการดูแลสุขภาพ Al for Healthcare และทางการศึกton ตังนั้น การจัดกิจกรรมโครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digitalucation ในครั้งนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนแนวคิดเกี่ยวกับ Al for Education จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มากประสบการณ์


รศ.นพ.ชาญชัย อีกว่าต้องขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้สนับสนุนงบประมาณ ให้ดำเนินโครงการ “APEC Lesson Study” มาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 16 ปี สืบเนื่องให้มีการจัดโครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Al forEducation ในวันนี้และขอบคุณวิทยากรพิเศษ ท่านทูตสุรพล เพชรวรา ที่กรุณาบรรยายเรื่อง AI for ReducingInequality in Education เพื่อ Remind สังคมว่าทำอย่างไร A! จะเป็นประโยชน์กับทุกคนและไม่สร้างควมเหลื่อมล้ำ ท่าน รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร ที่กรุณาบรรยายเรื่องComputational Thinking เพื่อเพิ่มพูนความสำคัญของการพัฒนา A/ ของประเทศต่อไปในอนาคต


“สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันวิจัย
และพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา เป็นอย่างสูง ที่ได้เห็นความสำคัญ
และได้มีการจัดโครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Al for Education ในวันนี้ ขอให้การดำเนินงานในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี”รศ.นพ.ชาญชัย กล่าว

รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

ด้าน รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ดังที่ในปีพ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนามประเทศไทยร่วมกับ CRICED, University of Tsukuba ในนามประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมเสนอโครงการภายใต้หัวข้อ “Acollaborative study on innovations for teaching and learning mathemnatics in differentcultures among the APEC Member Economies” และในนามประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งโครงการนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมในกลุ่ม EDNET Forum และที่ประชุม Human Resource Development Working Group (APEC HRDWG) และที่ประชุม APEC Ministerial Meeting ตามลำดับ หลังจากนั้น ก็มีชุดโครงการต่างๆ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเอเปคมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน


ซึ่งในปี 2549 ได้มีการนำนวัดกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เข้าไปปรับใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในกลุ่มประเทศเอเปค อาทิเช่น Australia, Chile, China, Japan, HongKong, Indonesia, Korea, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand, USA, และ Vietnam ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุด จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ได้นำนวัตกรรมsson Study เข้าไปในกลุ่มประเทศสมาชิ ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยยอมรับในเวทีต่างๆ อาทิเช่นที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาของกลุ่มสมาชิกเอเปค (APEC Education Ministerial Meeting) และ ที่ประชุม Annual Business Meeting of the APEC HumanResource Development Working Group เป็นต้น ว่าโครงการ APEC Project เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ และตัวอย่างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศพัฒนา เช่น ญี่ปุ่น และ ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศในกลุ่มสมาชิกเอเปค


และในปีงบประมาณ 2564 คณะดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น ไทย และมาเลเซียได้วางแผ่นการดำเนินการโครงการ Inclusive Mathematics for Sustainability in a Digital Economy (InMside) ซึ่งเป็นโครงการที่เสนอในนามประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ Ministry of Education, Culture, Sports, Science and logy ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ Ministry of Education ประเทศมาเลเซีย เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาทักษะการคิด ที่จำเป็นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งได้แก่ Computational Thinking (การคิดเชิงคำนวณ) และ Statistical
Thinking (การคิดเชิงสถิติ) ซึ่งเป็นยุคดิจิทัล ที่สังคมต้องอาศัยการตัดสินใจต่างๆ บนพื้นฐานของการคิดทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่อย่างมากอีกด้วย


ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2564จึงพยายามให้แต่ละประเทศได้ทศโนโลที่เหมาะสมในการพัฒนาและสนับสนุนในเรื่องพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการคิด และการให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยกำหนดแผ่นการดำเนินงานโครงการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1: การประชุมสัมมนา Webinar to share the Report of InMside I เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดการดำเนินงานสำหรับนักคณิดศาสตรศึกษาจากประเทศสมาชิกเอเปค ระยะที่ 2: การฝึกอบรมสัมมนากลุ่มผู้พัฒนาหลักสูตร InMside I! ณ ประเทศมาเลเซียระยะที่ 3: การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนำนาชาติ รวมทั้งการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 4: แต่ละประเทศพัฒนาหลักสูตร สำหรับการนำไปใช้จริงในโรงเรียนของแต่ละประเทศ


รศ.ดร. ไมตรี กล่าวอีกว่า กิจกรรมในวันนี้ เป็นการดำเนินงานโครงการ ในระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้ Theme APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: Al for Educationเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา (AI for Education) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก ซึ่งภายในกิจกรรม จะมีการบรรยายพิเศษที่จะขี้ให้เห็นชัดเจนว่า AI forEducation การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ในยุคปัญญาประดิษฐ์ เป็นอย่างไร.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads