วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

 “มะเร็งปากมดลูก”ภัยเงียบ!ที่ ผู้หญิงอีสาน ควรรู้ ป้องกันได้ยังไม่สายเกินไป

 “มะเร็งปากมดลูก”ภัยเงียบ!ที่ ผู้หญิงอีสาน ควรรู้ ป้องกันได้ยังไม่สายเกินไป
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “มะเร็งปากมดลูก”ภัยเงียบ!ที่ ผู้หญิงอีสาน ควรรู้ ป้องกันได้ยังไม่สายเกินไป

กรมอนามัยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยทั่วไป ผู้หญิงเป็น มะเร็งเต้านมอันดับ 1 มะเร็งปากมดลูกอันดับ 2 ของประเทศ ผลการรักษาดีมากถ้าตรวจพบในระยะแรก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection


   เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 13 มีนาคม 2566 ที่ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 6 อาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection โดยมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.วิทยา ถิฐาพัน ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย,นพ.อภิชัย  ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, นพ.ชาตรี เมธาธราธิป ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ,นพ.อุดม  ภู่วโรดม สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 7  ผู้แทนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, ไปรษณีย์จังหวัดขอนแก่น,ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส บริษัท CP A จำกัดมหาชน, สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ,ประกันสังคมจังหวัด ที่ได้รวมพลังกันดำเนินโครงการนี้ในเขตสุขภาพที่ ๗ และนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ร่วมงาน

นายแพทย์อภิชัย  ลิมานนท์

นายแพทย์อภิชัย  ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวต้อนรับว่า วันนี้ได้ร่วมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในวันนี้ ท่านทั้งหลายล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่ง ต่อการสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคของประชาชนในสถานประกอบการในเขตสุขภาพที่ 7 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการสร้างสุขภาพเป็นหน้าที่ๆ สำคัญของเราทุกคน แต่จะสำเร็จได้ตามเป้าหมายนั้น นอกจากความใส่ใจและปฏิบัติอย่างจริงจัง ต่อเนื่องของทุกคนแล้ว การมีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมพลังขับเคลื่อนไปพร้อมกันก็สำคัญยิ่งเช่นวันนี้ที่มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection นับเป็นอีกก้าวหนึ่ง
ที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคของพนักงานหญิงในสถานประกอบการ รวมถึงโอกาสการรับรู้และเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอันพึงได้รับอย่างแท้จริง

นายแพทย์ชาตรี  เมธาธราธิป
    ด้านนายแพทย์ชาตรี  เมธาธราธิป ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7ขอนแก่น กล่าวกล่าวรายงานว่า ขอรายงานความเป็นมาให้ทราบดังนี้ โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหา สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย โดยสถิติเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ ๒ ในผู้หญิงไทยและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก แต่รักษาให้หายได้หากพบในระยะแรกเริ่ม และเพื่อลดจำนวนหญิงไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มเพื่อนำไปสู่การรักษาจึงเป็นมาตรการสำคัญโดยก่อนหน้านี้ได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหญิงไทยอายุ 30-60 ปี ทุกสิทธิการรักษา โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยบริการ บริการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap Smear ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายและใช้โดยทั่วไปในประเทศไทยมากว่า 70 ปี หรือวิธี VIA ที่เป็นการตรวจโดยชโลมปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู ต่อมาปี 2563 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้เริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย HPV DNA Self Collection แทนการตรวจด้วยวิธี Pap Smear และ VIA ซึ่งเป็นไปตามข้อแนะนำ (Guideline) การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฉบับปรับปรุงเดือนกันยายน 2561
ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


  “สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เริ่มนโยบายตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีHPV DNA Self Collection นำร่อง 8เขตสุขภาพ 14 จังหวัด ในปี 2563 พบว่า ผู้เข้าถึงการคัดกรองเพียงร้อยละ 10 ปี 2564 นำร่อง 41จังหวัด พบว่า ผู้เข้าถึงการคัดกรองเพียงร้อยละ 2 และปี 2565 พบว่าผู้เข้าถึงการคัดกรองเพียงร้อยละ 25 สถิติ 63 ร้อยละ 5 ปี 64 ร้อยละ 15 ปี 65 ร้อยละ 25 ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV DNA Self Collection) นำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ กรมอนามัย KTB ผู้พัฒนาระบบกระเป๋าบริการสุขภาพ ร้านสะดวกซื้อ Seven extra ที่เป็นจุดกระจายชุดตรวจ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานเขตสุขภาพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และศูนย์ที่ 7 ขอนแก่น ได้ทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง นำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV DNA Self Collection) โดยมีหน่วยงานที่ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จำนวน 18 หน่วยงาน และแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย


   ส่วน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเปิดว่า ตนรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาเปั่นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection ในวันนี้จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์ชาตรี เมธาธราธิป จะเห็นได้ว่าเรื่องมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของไทย ซึ่งพบในสตรีเป็นอันดับ 2 และสถิติการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA ไม่ถึงร้อยละ 5 จึงได้ทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection ในวันนี้ ตนขอเรียนว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยมีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการส่งเสริมสุขภาพการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี รวมทั้งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชน รวมตลอดจนถึงการสนับสนุนให้หน่วยงานส่วนภูมิภาค และกาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีโดยถ้วนหน้าการสร้างเสริมสุขภาพ

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.วิทยา ถิฐาพัน
ต่อข้อถาม ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.วิทยา ถิฐาพัน ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ว่าความสำคัญ การคัดกรอง และรักษามะเร็งปากมดลูก ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และองค์กรของท่าน มีส่วนร่วมดำเนินการในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครั้งนี้อย่างไรบ้าง สาธารณสุขของประเทศไทย โดยสถิติพบว่า เป็นมะเร็ง ที่พบเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก แต่รักษาให้หายได้หากพบในระยะแรกเริ่ม และเพื่อลดจำนวนหญิงไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม เพื่อนำไปสู่การรักษาจึงเป็นมาตรการสำคัญ โดยก่อนหน้านี้ได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

สำหรับหญิงไทยอายุ 30-60 ปี ทุกสิทธิการรักษา
โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยบริการ บริการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap Smear ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายและใช้โดยทั่วไปในประเทศไทยมากว่า 70 ปี หรือวิธีVA ที่เป็นการตรวจโดยชโลมปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู ต่อมาปี 2563 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้เริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี
HPV DNA Self Collection แทนการตรวจด้วยวิธี
Pap Smear และ IVA ซึ่งเป็นไปตามข้อแนะนำ
(Guideline) การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฉบับ
ปรับปรุงเดือนกันยายน 2561 ของราชวิทยาลัยสูติ
นรีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของ
บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Self Collection เป็นการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ทำให้สามารถตรวจพบผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มเพิ่มขึ้นและเข้าสู่การรักษาได้โดยเร็วก่อน
ลุกลาม ช่วยให้อุบัติการณ์และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกลดลงเมื่อเทียบกับวิธีคัดกรองในปัจจุบัน ทั้งยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยกรณีที่ผลการตรวจไม่พบเชื้อจะเข้าสู่กระบวนการคัดกรองทุก 5 ปี และในกรณีที่ตรวจพบเชื้อจะทำการตรวจยืนยันซ้ำและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads