วันพฤหัสบดี 2 พฤษภาคม 2024

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน

       ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ได้รับข้อมูลการทำกิจกรรม ของสถาปัตย์ มข.ว่า ที่หมู่บ้าน ณ บ้านสวายสอ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์, ผศ.ดร.นยทัต ตันมิตร, อาจารย์วรพล ไทยเอื้อ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอาจารย์พิเศษ จากคณะศิลปกรรม อาจารย์วีระศักดิ์ พิมพ์แก้ว ได้ทำโครงการทัศนศึกษา “เส้น…สีน้ำ…และปราสาทหิน”เพื่อเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนความเป็นสถาบันที่อุทิศตนด้วยการออกแบบ ( Devotion by Design) โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 84 คน


       ผศ.ดร.พรณรงค์  หัวหน้าโครงการ ได้เล่าว่า ทางเราเคยทำโครงการศึกษาการพัฒนาทางกายภาพและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการเป็น Eco-Tourism Village: บ้านสวายสอ ริมอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 27-30 มิถุนายน 2562 ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาก่อนแล้วและหมู่บ้านสวายสอนั้นพิกัดตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เป็นหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีความโดดเด่นมีความพร้อมบนอัตลักษณ์ของหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี


       ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าวอีกว่าซึ่งทางชุมชนนี้มีการทอผ้าพื้นบ้าน ทอเสื่อกก จักสาน การทำขนมไทย แปลงนาสาธิต โดมปลูกผักอินทรีย์ และกลุ่มวิสาหกิจข้าวอินทรีย์ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน อาทิ ข้าวอินทรีย์ ผ้าทอมือพื้นบ้าน กระปุกออมสินจากไม้ไผ่ เสื่อปูนั่งกันยุง เครื่องจักสาน เป็นต้น จึงมีความเหมาะสมที่จะพานักศึกษาและอาจารย์ในคณะมาลงพื้นที่บริการชุมชน โดยการทำกิจกรรม Workshop วาดภาพนกกระเรียนทำป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ป้ายชื่อคุ้มขนาด 1.50×1.0 เมตร จำนวน 8 ป้าย ขนาด 0.4 x 0.4 เมตรจำนวน 15 ป้ายป้ายชื่อโฮมสเตย์ขนาด 0.8 x 0.6 เมตร จำนวน 12 ป้าย

     ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าวด้วยว่าทำไมต้องเป็นภาพนกกระเรียน คือว่า ทางองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันนำพ่อแม่พันธุ์นกกระเรียนพันธ์ไทยที่หายากมาเพาะในกรงเลี้ยงแล้วนำมาทดลองปล่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมืองบุรีรัมย์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินอยู่ในเขตพื้นที่ อ.ประโคนชัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ปี 2554-2560 รวมแล้วจำนวน 82 ตัว ทำให้บ้านสวายสอ มีกิจกรรมการชมแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกกระเรียนพันธุ์ไทย หรือ ชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน เป็นนกที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ หมู่บ้านได้มีการทำนาเป็นระบบเกษตรอินทรีย์และช่วยดูแลนกกระเรียนพันธุ์ไทยอีกทางหนึ่งนั่นเอง
สิ่งที่ทางอาจารย์คาดหวังของกิจกรรมที่พานักศึกษามาบริการเพื่อชุมชนนั่นก็คือ นักศึกษาได้ทำงานเพื่อผู้อื่น ได้ใช้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรมมาทำงานเพื่อชุมชน และฝึกการทำงานเป็นทีม ทำคนละอย่างมาประกอบกัน งานที่ได้อาจไม่สวยหรูเท่าการจ้างทำ แต่คุณค่าที่ชุมชนได้รับจากงานของเด็ก ๆ นั้นมีค่ามาก โดยทางหมู่บ้านสวายสอได้เห็นการทำงานของเราด้วยตรงนี้เป็นข้อดีมาก จะเห็นว่างานนี้มีหลายภาคส่วนร่วมกันทำงาน ทั้งชุมชน หน่วยงานรัฐและสถานศึกษา


       “ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้การอนุเคราะห์จัดหาไม้เป็นวัสดุทำป้ายจากโครงการชลประทานบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ และขอขอบคุณข้อมูลและภาพนกกระเรียนจากศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ช่างชาวบ้านและเด็ก ๆ นักเรียนในหมู่บ้านสวายสอมาร่วมเลื่อยไม้ ตัดไม้ วาดภาพนกกระเรียนด้วย และ Mr.George Archibald ผู้ก่อตั้ง International Crane Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาร่วมวาดภาพนกกระเรียนบนป้ายสัญลักษณ์ด้วยเช่นกัน”ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads