วันพุธ 1 พฤษภาคม 2024

AIS เดินหน้าส่ง “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เข้าสถานศึกษาทั่วประเทศ

AIS เดินหน้าส่ง “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เข้าสถานศึกษาทั่วประเทศ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

AIS เดินหน้าส่ง “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เข้าสถานศึกษาทั่วประเทศ


พร้อมส่งต่อสู่นักเรียนไทย เริ่มแล้วกว่า 29,000 โรงเรียนในเครือ สพฐ. ทั่วประเทศ ยกระดับทักษะสร้างพลเมืองดิจิทัล ให้รู้ทันภัยไซเบอร์


AIS เดินหน้าขยายผลโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการเสริมทักษะดิจิทัลหลักสูตรแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผ่าน ศึกษานิเทศก์ ครูอาจารย์ ไปสู่ นักเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ที่ครอบคลุมเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245 เขต รวม 29,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มต้นการเรียนการสอนภายในภาคต้น ของปีการศึกษา 1/2566 เป็นต้นไป


หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เกิดจากการทำงานร่วมกัน AIS และภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับการเรียนการสอน ปลูกฝังทักษะดิจิทัล ผ่านเนื้อหา 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป คือ 1). Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2). Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ 3). Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์ และ 4). Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม เพื่อปกป้องภัยไซเบอร์ รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลยุคใหม่ให้กับเด็ก เยาวชน และคนไทย

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “หลังจากที่เราได้เปิดตัว หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ และได้มีการทดลองทดสอบบนระบบ Sandbox ที่มีคุณครู นักเรียน เข้าเรียนและสอบผ่านไปแล้วกว่า 160,000 คน จากการทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตลอดปีที่ผ่านมา วันนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่เราพร้อมขยายผลผ่านไปยัง ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนทั่วประเทศ ที่อยู่ในสังกัดของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ในการนำเข้าไปอยู่ในการเรียน การสอน หรือ กิจกรรม ที่จะบ่มเพาะให้นักเรียนค่อยๆเพิ่มพูนความรู้ และทักษะดิจิทัล ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอย่างชัดเจน โดยเชื่อมั่นว่า ด้วยเทคนิคการสอนของครูอาจารย์ จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมผสมผสานกับองค์ความรู้ทางวิชาการที่จะสนับสนุนให้เยาวชนเกิดภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน”

ดร.อัมพร พินะสา

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า “การก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี ถือเป็นภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์สามารถตอบโจทย์เป้าหมายดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในครั้งนี้ที่เราร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ไปยังสถาบันการศึกษาในสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ ที่จะทำให้นักเรียนและเยาวชนของเรามีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ที่แฝงมากับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นสูงสุด และจะเป็นการยกระดับภาคการศึกษาไทยให้ทั้งครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ในกลุ่มก่อนระดับอุดมศึกษา มีองค์ความรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี
ผ่านการเรียนการสอนที่หลากหลาย อาทิ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับโครงสร้างวิธีการทำงานของแต่ละสถาบันการศึกษา ด้วยความพร้อมของบุคลากรของ สพฐ. ทั้ง 245 เขต ไม่ว่าจะเป็น ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา จะสามารถขยายผลให้ครูและนักเรียนทั่วประเทศได้เรียนรู้เนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ภายในภาคต้น ของปีการศึกษา 1/2566 ที่กำลังจะมาถึง และเชื่อว่าจะช่วยผู้เรียนให้สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับการใช้งานออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์”

ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า “ภัยดิจิทัลมีหลายรูปแบบ อาทิ การระรานทางไซเบอร์ การถูกเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ การฉ้อโกงออนไลน์ รวมทั้งข่าวปลอม ดังนั้น การทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในโลกออนไลน์จึงสำคัญ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เป็นหลักสูตรที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากช่วยปลูกฝังทักษะดิจิทัล สอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ทั้งความสามารถทางการคิด และความสามารถทางการใช้เทคโนโลยี นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้เพื่อการตัดสินใจ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา จึงขยายผลการใช้หลักสูตรนี้ลงสู่สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. โดยกระตุ้นให้ครูนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) บูรณาการกับรายวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระ จัดให้อยู่ในกิจกรรมชมรม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกิจกรรมแนะแนว ทั้งนี้บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา คือวางแผนและปรับใช้ในสถานศึกษา บทบาทของครูผู้สอน คือนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางดิจิทัลให้แก่นักเรียน สำหรับนักเรียน คือการศึกษาหาความรู้ และพัฒนาทักษะทางดิจิทัลของตนเอง และนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับการใช้งานออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน ป้องกัน เพื่อการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน”

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads