The DOTs Bootcamp:Family Business ต่อยอดธุรกิจครอบครัว สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
งาน The DOTS Hotel Game Changer Preview Day เป็นกิจกรรมที่ SCB SME เปิดห้องเรียนจำลอง พรีวิวให้ผู้ประกอบการได้ลองเรียนก่อนเปิดสอนจริง มีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมให้ความสนใจอย่างมากกับหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME ไทยเป็นผู้เล่นตัวจริงที่กำหนดอนาคตธุรกิจโรงแรม โดยรวบรวบความรู้ วิทยากร เมนเทอร์ แบ่งปันประสบการณ์ Coaching เข้มข้น ยกระดับมาตรฐานสู่ความสำเร็จในทุกมิติ
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 ที่ ห้อง Orchid Ballroom 3 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิดนายศุภฤทธิ์ เมฆอรุณกมล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ผู้บริหารสายงาน Business Banking L1, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดThe DOTs Bootcamp:Family Business ต่อยอดธุรกิจครอบครัว สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน โดยมี นายนิธิ สัจจทิพวรรณ CEO and co,Founder, My CloudFulfillment ,นายพจน์ สุพรหมจักร Partner NVest Venture ,ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ Head of Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน),คุณเสสินั่น นิ่มสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้งเพจทำที่บ้าน และ ผู้ประกอบกิจการจังหวัดขอนแก่น ร่วมรับฟัง
นายศุภฤทธิ์ เมฆอรุณกมล
นายศุภฤทธิ์ เมฆอรุณกมล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ผู้บริหารสายงาน Business Banking L1, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ว่าตั้งแต่ตนดูแล SMEs มา และหลายธุรกิจที่สืบทอดได้ วางธุรกิจมีปัญหาถึงขั้นยกเลิกกิจการ ถึงขั้นฟ้องร้องกันก็มี ระหว่างที่น้องกัน ก็แย่งมรดกกัน และบางธุรกิจต้องจ้างมืออาชีพมาบริหาร ซึ่งหัวข้อในวันนี้ทุกท่านต้องไม่พลาด บางท่านอาจจะมองว่ามีลูกคนเดียวจะทำธุรกิจไปทำไม จริงๆแล้วธุรกิจครอบครัว เป็นธุรกิจ SMEs ซึ่ง มาขอกู้ธนาคาร ถึง 90% และจุดเริ่มต้นก็มาจากคุณพ่อคุณแม่ ก่อตั้งมา ลูกบางท่านบางท่านอาจจะเรียนอยู่แต่บางท่านอาจจะจบแล้ว และการวางแผนที่จะดำเนินธุรกิจเป็นหน้าที่ที่สำคัญ และวันนี้ ก็เลยต้องมาเป็นในหัวข้อนี้ และได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ ทั้งภายในธนาคารและนอกธนาคาร ท่านแรกก็จะเป็นคุณเมฆ นิธิ สัจจทิพวรรณ CEO&Co-Founder MyCloud Fulfillment ทำธุรกิจปูนซีเมนต์
ท่านที่ 2 คือ คุณพจน์ สุพรหมจักร Partner NVest Venture เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและการลงทุน ว่าจะวางแผนด้านการเงินอย่างไร ท่านก็จะมาเล่าให้ฟัง ท่านที่ 3 ก็คือ ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ Head of Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ท่านดูแลการบริหารสินทรัพย์ครอบครัวและการส่งต่อความมั่งคั่ง ลูกค้า SCB PRIVATE BANKING ปกติจะคุยกับท่าน ต้องเป็นลูกค้าที่มีเงินฝากเป็นจำนวนมาก แต่วันนี้ ท่านให้ความกรุณาได้มาบรรยาย ให้รับฟังฟรี และลูกค้าท่านไหน ที่สนใจจะมาคุยต่อก็ติดต่อกับท่านโดยตรงได้ และท่านที่ 4 ก็คือ คุณกวาง เสสินั่น นิ่มสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้งเพจทำที่บ้าน ต่อยอดธุรกิจ ซึ่งรู้ปัญหา หยุดแข็ง ของบริษัทที่บ้าน เพราะตัวเองจบมาจากต่างประเทศแต่ต้องมาทำธุรกิจ ของครอบครัว วันนี้ท่านก็จะมาให้ความรู้
นายนิธิ สัจจทิพวรรณ
นายนิธิ สัจจทิพวรรณ CEO and co,Founder, My CloudFulfillment กล่าวถึง 7 models Family Business ต่อยอดธุรกิจ 1. กงสีโมเดล (Chinese Family Business) คือ หลักการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และเคารพความสัมพันธ์ของสมาชิก ซึ่งการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ในครอบครัวต้องใช้ความอดทน ความเข้าใจ และการพิสูจน์ตัวเองผ่านผลงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาธุรกิจครอบครัว
2. Family Turned Startup Model เน้นการใช้ทรัพยากรและความรู้จากครอบครัวเพื่อสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์ตลาดใหม่ โดยมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมและดึงดูดทีมงานที่มีวิสัยทัศน์เดียวกันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน 3. ต่อยอดแบบเดิม (Keep Everything the Same)การสืบทอดธุรกิจครอบครัวต้องรักษาคุณค่าและยังคงเอกลักษณ์เดิม พร้อมปรับตัวให้เข้ากับตลาดใหม่ ต้องพิสูจน์ตัวเองผ่านผลงานและรักษามาตรฐานเดิมให้แข็งแกร่ง 4. Modernized SME Model (Rebranding, Reinvigorating) การปรับตัวให้ทันสมัยและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการรีแบรนด์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่น่าสนใจแก่ลูกค้ารุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยีและการตลาดออนไลน์เพื่อขยายการเข้าถึง
5. จาก B2B สู่ B2C (Expanding from B2B to B2C) การขยายธุรกิจจาก B2B สู่ B2C ช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตและกระจายความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นการสร้างแบรนด์และประสบการณ์ที่ดึงดูดลูกค้ารายย่อย 6. เปิดบริษัทใหม่กับคนเดิม การเปิดบริษัทใหม่กับทีมเดิมช่วยรักษาความรู้และวัฒนธรรมองค์กร พร้อมสร้างโอกาสใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงตลาด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ชื่อเสียงเดิมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในธุรกิจใหม่
7. ส่งต่อ เข้าตลาดหรือ Exit การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและโอกาสในการเติบโตระยะยาว แต่ต้องบริหารจัดการทางการเงินอย่างโปร่งใสและมีมาตรฐานสูง
“ลูกทุกคนอยากได้รับการยอมรับ พ่อแม่ทุกคนอยากได้รับการรับฟัง” คำกล่าวข้างต้นอาจเป็นแค่เรื่องในครอบครัว แต่เมื่อคำนี้ก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจครอบครัว ย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนในธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการทำธุรกิจครอบครัวมีปัจจัยสำคัญ 3 ส่วนหลัก คือ ครอบครัว ธุรกิจ และความเป็นเจ้าของ ที่เชื่อมโยงกันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ธุรกิจในครอบครัว ยึดถือ “ความสัมพันธ์” มากกว่า “เหตุผลและตรรกะ” เพราะแต่ละคนมีส่วนในการขับเคลื่อนในธุรกิจที่แตกต่างกัน บางคนอาจเป็นเจ้าของกิจการ บางคนอาจเป็นผู้ถือหุ้น หรือบางคนอาจเป็นเพียงสมาชิกครอบครัวที่ไม่ได้มีบทบาทสำคัญ แต่ในฐานะของคนรุ่นใหม่ จำเป็นต้องยึดถือและให้ความสำคัญต่อคนในครอบครัว เพราะครอบครัวที่มีปัญหาก็อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาในธุรกิจได้
การสื่อสารในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ต้องพิจารณาและให้ความรอบคอบเป็นอย่างมาก เพราะในบางครั้งการที่เรามีไอเดียใหม่ หรือโมเดลที่อยากต่อยอดธุรกิจ แต่ถ้าเกิดไม่รู้วิธีเข้าหาผู้ใหญ่ หรือขายงานให้พ่อแม่ฟังไม่ได้หรือไม่เข้าใจอย่างชัดเจน ก็อาจจะไม่ต่างอะไรกับคนที่เอาแต่ใจ แต่มุ่งทำให้ธุรกิจเป็นในแบบที่ตัวเองต้องการ โดยที่ไม่สนใจฟังเสียงทัดทานจากคนในครอบครัว
ดังนั้น คนรุ่นใหม่ควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในการทำธุรกิจ เพราะเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันได้ หรือถ้าต้องการเสนอไอเดียที่แตกต่างก็ควรยึดหลักเหตุและผล รวมถึงสร้างความเชื่อใจและเชื่อมั่นว่าในการตัดสินใจของเรา เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวยังคงสามารถอยู่ได้ แม้จะถูกเปลี่ยนมือมาสู่รุ่นของเราแล้วก็ตาม และจาก Model การต่อยอดทั้งหมดนี้ สามารถนำไปต่อยอดประสบความสำเร็จได้จริง ฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตามธุรกิจครอบครัวมีทางไปต่อเสมอ
นายพจน์ สุพรหมจักร
ด้าน นายพจน์ สุพรหมจักร Partner NVest Venture กล่าวในหัวข้อ”Financial for Family Business (การบริการการเงินสำหรับธุรกิจSMEs)” “Wealth for Family Business วิธีบริหารจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Management)” ว่าธุรกิจครอบครัว เปรียบเสมือนสองส่วนหลักๆ คือ หลังคาบ้าน (ROOF) ที่เกิดจากการก่อร่างสร้างตัวโดยคนรุ่นที่หนึ่ง สั่งสมและต่อยอดให้แก่คนรุ่นถัดมา โดยที่แต่เดิมอาจเป็นการทำให้ธุรกิจอยู่รอดเท่านั้น แต่เมื่อธุรกิจขยายตัว คนรุ่นต่อมาจึงต้องมองหาการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกันเป็นองค์กร การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการดูแลจิตใจของคนในครอบครัว
อีกส่วนสำคัญ เปรียบเสมือนกับการปรับตัว (ADAPT) ที่มองถึงเป้าหมายหรือ Goal ขยายการเติบโต เปิดรับคนเก่งๆ เข้ามาขับเคลื่อนองค์กร มองหานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยสร้างกำไรให้ธุรกิจ วางแผนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ สามารถแบกรับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีกระบวนการติดตามการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ การทำธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่ทำให้คนในครอบครัวมองภาพอนาคตของธุรกิจในทิศทางเดียวกัน ต่อมาคือต้องเข้าใจ Purpose ของธุรกิจ ว่าเรากำลังมองหาอะไรจากการทำธุรกิจของเรา วิเคราะห์จุดเด่นหรือจุดแตกต่างที่ทำให้ธุรกิจของเราแตกต่างจากคู่แข่ง
รวมทั้งต้องบริหารเวลาในการทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจ เพราะยิ่งทำงานหนัก มีความเครียดสะสม ก็อาจทำให้เจ็บป่วยและไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้ไปข้างหน้าได้ รวมถึงทำให้คนในครอบครัวสูญเสียความเชื่อมั่นและกำลังใจ ดังนั้นธุรกิจครอบครัวที่ดี ย่อมต้องบริหารสภาพจิตใจของสมาชิกครอบครัวให้ดีตามมาด้วยเช่นกัน
ดร.นิติ เนื่องจำนงค์
ส่วน ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ Head of Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การทำธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่ทำให้คนในครอบครัวมองภาพอนาคตของธุรกิจในทิศทางเดียวกัน ต่อมาคือต้องเข้าใจ Purpose ของธุรกิจ ว่าเรากำลังมองหาอะไรจากการทำธุรกิจของเรา วิเคราะห์จุดเด่นหรือจุดแตกต่างที่ทำให้ธุรกิจของเราแตกต่างจากคู่แข่ง
รวมทั้งต้องบริหารเวลาในการทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจ เพราะยิ่งทำงานหนัก มีความเครียดสะสม ก็อาจทำให้เจ็บป่วยและไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้ไปข้างหน้าได้ รวมถึงทำให้คนในครอบครัวสูญเสียความเชื่อมั่นและกำลังใจ ดังนั้นธุรกิจครอบครัวที่ดี ย่อมต้องบริหารสภาพจิตใจของสมาชิกครอบครัวให้ดีตามมาด้วยเช่นกัน
นายเสสินั่น นิ่มสุวรรณ์
ท้ายสุด นายเสสินั่น นิ่มสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้งเพจทำที่บ้าน กล่าวถึงการสื่อสารในธุรกิจครอบครัว”Panel Discussion ว่า ความเป็นครอบครัว เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนสำหรับการทำธุรกิจของครอบครัว เพราะเมื่อธุรกิจกำลังเติบโตก้าวหน้า บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวที่แข็งแกร่งและร่วมมือร่วมใจ ในทางกลับกัน เมื่อธุรกิจเริ่มมีปัญหา ไม่ว่าด้วยช่วงวัย ความคิด หรือการตัดสินใจที่แตกต่าง โอกาสที่ธุรกิจครอบครัวจะไปรอด ก็อาจจบลงตรงที่ รุ่นหนึ่งสร้าง รุ่นที่สองสาน แต่รุ่นที่สามกำลังจะทำลาย
คนรุ่นใหม่ที่ถูกวางตัวให้เป็นทายาทของธุรกิจ อาจมีภาพลักษณ์ที่ดูร่ำรวย แต่ในความเป็นจริงก็ยังเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ของธุรกิจ ไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว ทุกอย่างยังต้องผ่านการตัดสินใจจากผู้อาวุโสหรือสมาชิกในครอบครัวที่ก่อตั้งธุรกิจขึ้นมา การสร้าง “Trust” หรือ “ความเชื่อใจ” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่ต้องมีหากคิดรับช่วงต่อธุรกิจในครอบครัว
การเสนอไอเดียที่จะสร้างธุรกิจให้แตกต่าง จะต้องไม่ใช่การทำลายความเชื่อ แบบแผน หรือแนวปฏิบัติเดิมๆ ของครอบครัว แต่ต้องเป็นการนำเอาทักษะที่มี ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ มาต่อยอดธุรกิจในลู่ทางใหม่ สร้างผลกำไรมหาศาล และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมาในครอบครัวได้อย่างครบถ้วน ช่วยให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแน่นแฟ้นมากขึ้น
ธุรกิจครอบครัวที่ดี จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน กระจายบทบาทและอำนาจหน้าที่ แบ่งหุ้นในธุรกิจ เงินเดือน เงินปันผล รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ให้เหมาะสมตามความรับผิดชอบของแต่ละคน และมองหาโอกาสเติบโตใหม่ๆ โดยที่ทุกคนมีความเห็นหรือเข้าใจตรงกัน ลดการสร้าง “ระเบิดเวลา” ที่อาจทำให้ธุรกิจครอบครัวมีปัญหา ด้วยการมองเห็นคุณค่า และยอมรับความแตกต่างของคนในครอบครัว.