วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

การลงทุนในเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนาม – โอกาสที่สุดในสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

การลงทุนในเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนาม – โอกาสที่สุดในสำหรับธุรกิจในประเทศไทย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

การลงทุนในเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนาม – โอกาสที่สุดในสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

ทะเลมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของแต่ละประเทศ เพราะฉะนั้นประเทศต่างๆ ล้วนมีนโยบายที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทะเล วางยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทะเลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างสูง

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ สำนักงานการค้า – สถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ชายฝั่งภาคกลางของเวียดนาม: ศักยภาพและโอกาสสำหรับนักลงทุนไทย” การเสวนาด้วยการร่วมงานของคณะผู้บริหารระดับสูงของ BOI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม พร้อมกับมากกว่า 150 ผู้ประกอบการ นักลงทุนไทยและเวียดนามนอกจากเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจทะเลในภาคกลางประเทศเวียดนามแล้วยังเป็นการยืนยันถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วและอนาคตอันสดใส ของการร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนามอีกด้วย

เนื้อหาการเสวนายังพูดถึงความท้าทายต่างๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจทะเลในภูมิภาคความสำคัญของสันติภาพ อิสรภาพของการเดินเรือในทะเลตะวันออก คัดค้านกิจกรรมรุนแรง กิจกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล

ประเทศเวียดนามตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก มีชายฝั่งยาวกว่า 3.260 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ มีพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะกว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรและเกาะน้อยใหญ่กว่า 3 พันแห่ง รวมทั้งหมู่เกาะหว่างซา หรือพาราเซล และเจื่องซาหรือเสปรตลี มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ นี่เป็นข้อได้เปรียบที่ดี สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล เช่น น้ำมันและก๊าช การประมง การเพาะเลี้ยง การแปรรูปสินทะเล การท่องเที่ยวและการเดินเรือเวียดนามได้มีการกำหนดนโยบายและวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทะเลและเกาะ หนึ่งในนั้นคือโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศทางทะเลจนถึงปี 2563 เพื่อส่งเสริมการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคเศรษฐกิจทางทะเล โดยเฉพาะในภาคกลางเวียดนาม โดยนโยบายส่งเสริมการลงทุนหายประการของรัฐบาลเวียดนาม ) เช่น การยกเว้นค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าพื้นที่ผิวน้ำ การยกเว้นหรือลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการใช้ที่ดินสำหรับโครงการด้านการเกษตร การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์….) ระบบสาธารณูปโภคมีความพร้อมมากขึ้นด้วยเขตอุตสาหกรรมหลายแห่ง สวนอุตสาหกรรมแปรรูป ท่าเรือทะเล แรงงานราคาถูกที่มีทักษะที่สูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนามจะเติบโตขึ้นรวดเร็วในเวลาเร็วๆนี้

ผู้ประกอบการรายใหญ่จากประเทศไทย (เช่น CP SCG PTT….)ล้วนมีประสบการณ์และผลสำเร็จกับการลงทุนในตลาดเวียดนาม (โดยเฉพาะด้านการค้าปลีก แปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ ปูนซีเมนต์…) อย่างไรก็ตาม ด้านเศรษฐกิจทางทะเลยังไม่ได้รับความสนใจอันควรในขณะที่นี่คือหนึ่งในเขตการลงทุนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างสูงและยาวนาน

ศักยภาพของการพัฒนาความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนามนับวันยิ่งมากขึ้น โดยมีพื้นฐานคือความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันของสองประเทศ (ลงนามเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2556) การลงทุนในภาคเศรษฐกิจทะเลเวียดนามยิ่งได้เปรียบเนื่องจากประเทศนี้ได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี(FTA) แบบทวิภาคีและพหุภาคีหลายประการ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 ยังอำนวยความสะดวกในการขจัดอุปสรรคทางการค้าในการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2560 ที่ผ่านมา การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงวียน ซวน ฟุ้ก      ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในแง่ความสัมพันธ์ทางการทูต การส่งเสริมการลงทุน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสองประเทศ ในโอกาสนี้สองฝ่ายได้ตกลงตั้งเป้ายกมูลค่าระหว่างกันขึ้นเป็น 20 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เพิ่มความร่วมมือการลงทุนในหลายด้านร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์สารสนเทศและการสื่อสาร บันทึกความเข้าใจเพื่อการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดตราดกับจังหวัดก่าเมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างจังหวัดที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลทั้งสองประเทศ บันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศชาติเวียดนามกับธนาคารแห่งประเทศไทย… เวียดนามและไทยยังคงยืนยันถึงความสำคัญของการผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายการปฏิบัติต่อกันในทะเลจีนใต้ (ทะเลตะวันออก) หรือ COC ในงานประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 50 (50 th ASEAN Foreign Ministers’ Meeting – AMM ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เดือนสิงหาคม 2560) ยึดถือนโยบายแก้ไขปัญหาพิพาทในทะเลตะวันออกด้วยมาตรการสันติบนพื้นฐานกฎหมายสากล อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 2525

ด้วยอนาคตอันสดใสของเศรษฐกิจทะเลเวียดนาม ความร่วมมือลงทุนระหว่างไทยและเวียดนามกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ประเทศเวียดนามด้วยสภาพแวดล้อมที่ดีเลิศ สำหรับการลงทุนด้านเศรษฐกิจทางทะเล พร้อมที่จะต้อนรับนักลงทุนชาวไทย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองซึ่งกันและกันระหว่างสองประเทศ

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads