วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

นายกรัฐมนตรีเวียดนามร่วมประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ที่กรุงพนมเปญ

นายกรัฐมนตรีเวียดนามร่วมประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ที่กรุงพนมเปญ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

นายกรัฐมนตรีเวียดนามร่วมประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ที่กรุงพนมเปญ

ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน แซน นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงวียน ซวน ฟุก ได้นำคณะผู้แทนเวียดนามเข้าร่วมการประชุม MLC ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การเข้าร่วมประชุมของนายกรัฐมนตรีเวียดนามในครั้งนี้แสดงถึงการให้ความสำคัญของเวียดนาม สำหรับกลไก MLC เพื่อช่วยส่งเสริม MLC สู่ความมั่งคั่งและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค

การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC) ได้จัดขึ้นทุกสองปีโดยมีเจ้าภาพสลับไปมาระหว่างประเทศสมาชิก ครั้งแรกได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ปี 2559 ที่เมืองซานย่า มณฑลไหหลำของจีน โดยได้ผ่านปฏิญญาซานย่า ผู้นำประเทศต่างๆ เห็นด้วยที่จะดำเนินความร่วมมือ 5 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมต่อการคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิต เศรษฐกิจข้ามชาติ ทรัพยากรน้ำและการเกษตรและการลดความยากจน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ทั้งยังเห็นด้วยที่จะใช้มาตรการ 26 ประการ เพื่อปฏิบัติตามความร่วมมือดังกล่าว

การประชุม MLC ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2561 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาจะเป็นประธานร่วมกับจีน ภายใต้หัวข้อ แม่น้ำแห่งสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา (Our River of Peace and Sustainable Development) ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะทบทวนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกจากการประชุมผู้นำฯ ครั้งที่ 1 พร้อมทั้งจะกำหนดทิศทางและกิจกรรมของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างในอนาคต โดยสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่าและจีน จะหารือ ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ภายใต้หลักการการมีส่วนร่วม หลักฉันทมติ ความสมัครใจ ความเสมอภาค การประสานงาน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และการเคารพกฎบัตรของสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น MLC ยังมุ่งสู่เป้าหมายอื่นๆได้แก่ เสริมสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจซึ่งกันและกัน รักษาสันติภาพและความมั่นคง บูรณาการที่ครอบคลุมในเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก เสริมสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนบ้านของประเทศต่างๆ

กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีความร่วมมือที่สอดคล้องกับสามเสาหลักของอาเซียน ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน วัฒนธรรม-สังคมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ 1.การส่งเสริมความเชื่อมโยง 2.ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรม 3.ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจข้ามพรมแดน 4.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ 5.การเกษตรและการลดความยากจน

เวียดนามได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกลไก MLC ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง คณะผู้แทนของเวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมอย่างเต็มที่ ติดตามการดำเนินโครงการความร่วมมือของอนุภูมิภาค มีการเสนอความคิดสร้างสรรค์หลายประการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของความร่วมมือ โดยในการประชุมฯ ครั้งแรกที่ประเทศจีน เวียดนามได้เสนอสี่โครงการ และเพิ่มอีก 7 โครงการในปี 2560 สำนักงานของกระทรวงต่างๆ ของเวียดนามยังคงดำเนินต่อไปการศึกษาหาข้อเสนอเพิ่มพูนความร่วมมือ ระหว่างประเทศในภูมิภาคในด้านอื่นๆ การเข้าร่วมประชุมผู้นำ MLC ครั้งที่สองของนายกรัฐมนตรี เหงวียน ซวน ฟุก และคณะผู้แทนระดับสูงของเวียดนาม ได้แสดงถึงการให้ความสำคัญของเวียดนามต่อกลไก  MLC มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง MLC ในอนาคต ยืนยันบทบาทของเวียดนามในความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

                                                                                                                                                                            สมบูรณ์   สุขชัยบวร….รายงาน

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads