วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)  จับมือศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ  มข. บุก!เปิดตลาดต้นแบบเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ”

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)  จับมือศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ  มข. บุก!เปิดตลาดต้นแบบเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ”
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)  จับมือศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ  มข. บุก!เปิดตลาดต้นแบบเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ”

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จับมือกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมการเกษตรแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมวางแผนเปิดตลาดบุกการทำนาแบบประณีตฯ ในฤดูกาลทำนา 2561  พร้อมผลักดันการเป็น “ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ”ส่งเสริมเกษตรกรให้อยู่ดีกินดี มีรายได้อย่างมั่นคง

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ ห้องประชุม 2407 อาคาร 2 ชั้น 4 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต  สุวรรณประการ  รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อน. พึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นประธานในการประชุมเพื่อวางเป้าหมายและกำหนดทิศทางการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) และโครงการต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ ประจำปี 2561 โดยมีรศ.ดร.เพ็ญศรี   เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น (ผอ.ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมการเกษตรแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น) และ ผศ.ดร.ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ม.เชียงใหม่  นายไพวรรณ โยธาสุภาพ อาจารย์คณะการจัดการและการบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นักวิชาการอิสระ ผู้จัดการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)  ผู้นำเกษตรกรและเกษตรกร จำนวน 50 คนร่วมประชุม

 

รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต  สุวรรณประการ

รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต  สุวรรณประการ  รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อน. พึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวว่า มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมการเกษตรแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและอบรมบ่มเพาะผู้จัดการทำนาแบบประณีตฯ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 166 ทีมทั่วประเทศ ค่อยทำหน้าที่ให้บริการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพ สามารถหย่อนกล้าข้าวด้วยเครื่องหย่อนกล้าข้าวของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้ประมาณวันละ 10 ไร่ ถึง 15 ไร่ต่อทีม

รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต กล่าวอีกว่าพร้อมกันนี้ยังสามารถถ่ายทอดความรู้การผลิตข้าวคุณภาพแก่เกษตรกรและเป็นที่ปรึกษาในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ด้วยการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) สามารถนำมาช่วยให้มีการปลูกกล้าข้าวที่มีระยะห่างที่เหมาะสมทุกๆ กอข้าวจึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเร็วกว่าการงอกของเมล็ดหญ้า  จึงลดความเสี่ยงที่เกษตรกรจะใช้ยาปราบศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขัดกับกฎเกณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ มีผลให้ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์การทำนาแบบประณีตนี้ได้มีการศึกษาแล้วพบว่ามีต้นทุนต่ำ มีผลผลิตสูงขึ้นกว่าวิธีต่างๆ ถึงประมาณร้อยละ 30 ดูแลง่ายไม่ต้องกำจัดศัตรูพืช

รศ.ดร.เพ็ญศรี   เจริญวานิช

รศ.ดร.เพ็ญศรี   เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น กล่าวว่าในปี 2560 ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมการเกษตรแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) และ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการเกษตรกรทันสมัยเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรอินทรีย์ และ โครงการต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยโดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่เน้นการผลักดันระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประยุกต์กับองค์ความรู้ในเชิงธุรกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรในชุมชนนั้นๆและเกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีผลิต ไปสู่สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร ให้มีการประกอบการร่วมกัน มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เปลี่ยนวิธีการผลิตจากการใช้สารเคมี  เป็นการลด ละเลิกการใช้สารเคมี มุ่งสู่วิถีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์

รศ.ดร.เพ็ญศรี  กล่าวด้วยว่าการทำโครงการดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบชุมชนและพัฒนาขยายไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆได้ แนวคิดหลักของโครงการ คือให้กลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันทำธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้ในชุมชนให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ต่อเดือน จากพื้นที่แปลงกลาง 5 ไร่ โดยทำงานสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง  ด้วยการทำนาเกษตรอินทรีย์ร่วมกับปศุสัตว์ หรือประมง และพืชอินทรีย์ ในการสร้างระบบ supply chain ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลในการดำเนินงาน มีการพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.เพ็ญศรี  กล่าวอีกว่า ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 พื้นที่ 7 จังหวัด โดยแบ่งเป็นจังหวัดมหาสารคาม 3 พื้นที่ (ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย ตำบลนาดูน อ.นาดูน) ขอนแก่น 2 พื้นที่ (ตำบลสาวถี อำเภอเมือง ตำบลบ้านกุดเชียมี อำเภออุบลรัตน์)  จังหวัดร้อยเอ็ด 1 พื้นที่  (ตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย) จังหวัดยโสธร 1 พื้นที่ (ตำบลสงเปลือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว) จังหวัดสุรินทร์ 1 พื้นที่ (ตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ) จังหวัดสกลนคร 1 พื้นที่ (ตำบลเชียงสือ อำโพนแก้ว) และจังหวัดชัยภูมิ(ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์) มีผลการดำเนินการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร (Smart Farmer) (ตามเป้าหมาย 1,500 ราย)

โดยแบ่งพื้นที่ในการอบรม 10 พื้นที่ๆ ละ 150 ราย ซึ่งได้ดำเนินการอบรมเป็นที่เรียบร้อยและครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้วรวมเป็นจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด 1,513 คน  หลังจากการอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ ภายใต้โครงการเกษตรกรทันสมัย เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรอินทรีย์  การอบรมและฝึกปฏิบัติการใช้Social-media เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด การติดตามระบบงานด้วยผ่านสมาร์ทโฟนและฝึกปฏิบัติจริงโดยเกษตรกรการทดสอบระบบติดตามผ่านสมาร์ทโฟน  แนะนำการวางแผนการทำงานบน gantterการติดตามผลการทำงานด้วยระบบ line  และการใช้ แอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้งานสามารถติดตามผลการตรวจสอบรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวพร้อมว่า จากผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาหลายพื้นที่ได้ดำเนินการไปตามแผนและโมเดลการขับเคลื่อนที่วางไว้ในระยะที่หนึ่ง คือ เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อประกอบการร่วมกัน เกษตรกรยอมรับแนวคิดของโครงการและนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการขับเคลื่อนกลุ่ม เช่น เลี้ยงสัตว์อินทรีย์ ปลูกผักอินทรีย์ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการเกษตร มีผลิตผลทางการเกษตรเพื่อบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้งยังมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาให้การส่งเสริมและสนับสนุน

“การจัดประชุมเพื่อทำแผนการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) และแผนต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯ ประจำปี 2561ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ในฤดูกาลทำนาปี 2561 เผยแพร่เทคนิคการทำนาสมัยใหม่ ที่รวดเร็วและประหยัดเวลาและต้นทุน ให้ผลิตผลิตที่มีคุณภาพสูง และการจัดทำแผนต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลฯเพื่อการสะท้อนปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน และวางแนวทางในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป” รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวท้ายสุด

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads