วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

“แจ่วบอง “กลุ่มสตรีบ้านศรีวิไล สินค้าโอทอปขึ้นชื่อของ จ.หนองบัวลำภู

“แจ่วบอง “กลุ่มสตรีบ้านศรีวิไล สินค้าโอทอปขึ้นชื่อของ จ.หนองบัวลำภู
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“แจ่วบอง “กลุ่มสตรีบ้านศรีวิไล สินค้าโอทอปขึ้นชื่อของ จ.หนองบัวลำภู


เมื่อเวลา13.00 วันที่1 พ.ย.ที่ กลุ่มแจ่วบองสมุนไพร บ้านศรีวิไล ต.ฝั่งแดง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู นายสมนึก มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกกองทุน “กลุ่มแจ่วบองสมุนไพร” บ้านศรีวิไล โดยมีนายสมยศ แน่นศรี พัฒนาการอำเภอนากลาง พร้อมด้วยนายประดิษฐ์ นัดทะยาย หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู นางสมจิตร สามา ประธานกลุ่มกลุ่มแจ่วบองสมุนไพรศรีวิไล และสมาชิกกลุ่ม ให้การต้อนรับ และนำชม

     นายสมนึก มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวว่าในการลงพื้นที่ที่ติดตามผลดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกกองทุน “กลุ่มแจ่วบองสมุนไพร”ครั้งนี้ ในฐานะเลขากองทุนพัฒนาบาทสตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะไปช่วยเหลือส่งเสริมสตรี ได้นำเงินกองทุนไปประกอบอาชีพ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก ในส่วนที่ 2 กองทุนสตรี จะไปทำให้ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพสตรี หรือว่าไปแก้ปัญหาของกลุ่มสตรีให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้นเมื่อสตรีได้รับสนับสนุนเงินกองทุนไปประกอบอาชีพแล้ว กลุ่มสตรีก็สามารถที่จะพัฒนาต่อยอด ไปสู่โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP และวัตวิถี

ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการในปีงบ 2561 ในทุกอำเภอ ซึ่งตรงนี้จะช่วยเสริมเป็นช่องทางการตลาดให้กับสมาชิกกองทุนบาทสตรีได้มีที่จำหน่ายสินค้า และเพื่อเป็นการที่จะเพิ่มยอดจำหน่ายได้ด้วย

นางสมจิตร  สามา
นางสมจิตร  สามา ประธานกลุ่มกลุ่มแจ่วบองสมุนไพรศรีวิไล กล่าวว่าสำหรับสถานที่ตั้งกลุ่มฯมีที่ทำการอยู่ที่หมู่ 14 ต.ฝั่งแดง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู กลุ่มมีสมาชิกอยู่จำนวน 25 คน ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มคือ แจ่วบองสมุนไพร เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 72,500 บาท เงินที่ได้รับจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีนำไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิต เช่น ปลาร้า หัวหอม กะเทียม มีด ช้อน เขียง กะละมัง บรรจุภัณฑ์ฯลฯ มาดำเนินการตามกระบวนการ จำหน่ายในพื้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด และต่างจังหวัด สร้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสมาชิก จำนวน 5,000 บาท/เดือน/คน เพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 2,000 บาท/เดือน/คน


นางสมจิตร กล่าวอีกว่าจากความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากกลุ่มมีการบริหารจัดการที่ดี มีคณะกรรมการที่เข้มแข็ง สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการรักษามาตรฐานและคุณภาพการผลิต มีเครือข่ายการตลาด ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในสินค้า มีเงินหมุนเวียนอย่างเพียงพอ มีระบบการควบคุมทางการเงิน และสมาชิกกลุ่มมีความขยันหมั่นเพียร

ขอขอบคุณกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมการพัฒนาชุมชน ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนกลุ่มของเราซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากทำให้กลุ่มสามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง สร้างอาชีพเสริม และรายได้ให้กลุ่มของเรา

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads