วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

“สอศ.”ติวเข้ม!ครูอาชีวส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ

“สอศ.”ติวเข้ม!ครูอาชีวส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“สอศ.”ติวเข้ม!ครูอาชีวส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 13 ก.พ.ที่ห้องแก่นนราบอลรูม โรงแรมวีวิช จ.ขอนแก่น พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา Big Data System เพื่อวางแผนจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.สิทธิศักดิ์ ชำปฏิ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น ตลอดจน ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผู้รับผิดชอบด้านหลักสูตรและผู้ดูแลระบบ Big Data System ของสถานศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20จังหวัด จากศึกษา 118 แห่ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 354 คน

พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล

      พล.อ.สุทัศน์ ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการพัฒนาแผนจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม ทั้งระดับกลุ่มจังหวัด ระดับภาค และในระดับประเทศ ซึ่งครั้งนี้เป็นการดำเนินการของภาคกลาง ที่จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับภาคอื่น ๆ ของประเทศต่อไป

      พล.อ.สุทัศน์ กล่าวอีกว่าในการจัดประชุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงแรงงาน วางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ในระยะแรก ได้มีการวางแผนและขยายผลสู่ความสำเร็จในพื้นที่ EEC พร้อมจัดตั้ง “ศูนย์ประสานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก” เป็นกลไกขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงาน (Demand Side) การวางแผนการจัดการเรียนการสอน เน้นมีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน มีงานทำหลังจบการศึกษา และมีอาชีพสู่มาตรฐานสากล เมื่อปรากฏภาพความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ขยายผลการจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ไปสู่ภาคอื่น

      พล.อ.สุทัศน์ กล่าวด้วยว่าในปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานฯ ประกอบด้วย 1 ศูนย์กลาง 6 ศูนย์ภูมิภาค และ 18 ศูนย์กลุ่มจังหวัด พร้อมนำระบบรวบรวมข้อมูล Big Data System มาใช้เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการกำลังคนไว้ในที่เดียวกัน ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชา จำนวนความต้องการ จำนวนผู้จบการศึกษาแต่ละสาขา เป็นต้น โดยมีการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลระหว่างสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนด้านทรัพยากร ด้านวิชาการ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลจะถูกต้องแม่นยำเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ในการเก็บและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบให้ทันต่อการนำไปใช้วางแผนหรือไม่ ซึ่ง ศธ.ได้วางเป้าหมายเร่งจัดทำข้อมูล Big Data System ให้แล้วเสร็จทันต่อการวางแผนจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรของอาชีวศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562

       พล.อ.สุทัศน์ กล่าวต่ออีกว่าจากการที่พล.อ.สุรเชษฐ์​ ชัย​วงศ์​ รมช.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำการทำงานด้วยเอกภาพแห่งความพยายาม (Unity of Effort) กล่าวคือ “ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม อย่างมีเป้าหมาย บนฐานความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน และถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง” ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน และเชื่อมั่นว่า “การอาชีวศึกษา” จะเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาข้อมูลกำลังคนสายอาชีพ ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือสถานประกอบการ โดยคาดว่าปีการศึกษา 2562 จะมีผู้เลือกเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45 เนื่องจากอาชีวะมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมอาชีวะอาสาช่วยเหลือบริการประชาชนในทุกพื้นที่ ทั้งในช่วงเทศกาลและช่วงสภาวะวิกฤตในเรื่องต่าง ๆ กำลังคนอาชีวะที่มีทักษะฝีมือและทักษะการดำรงชีวิต เพื่อช่วยพัฒนาประเทศ อีกทั้งการพัฒนาด้านวิชาการอาชีวศึกษาก็เป็นสิ่งสำคัญ และการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ โดยในปีที่ผ่านมาได้นำนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ได้มูลค่าถึง 141 ล้านบาท อีกทั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษามีสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ผ่านการ มากกว่า 1,000 ชิ้น ถือเป็นผลงานเชิงประจักษ์ทั้งสิ้น

ดร.สิทธิศักดิ์ ชำปฏิ

        ด้าน ดร.สิทธิศักดิ์ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น กล่าวว่า การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ได้จัดขึ้นตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ในระดับภูมิภาค โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภายใต้โครงการ 1ศูนย์กลาง 6 ภูมิภาค 18 ศูนย์กลุ่มจังหวัด และให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจฝ่ายข้อมูลกลาง จัดทำฐานข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา Big Data System โดยให้สำรวจและจัดเก็บข้อมูลความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษาจากสถานประกอบการในพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตและการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่

        ดร.สิทธิศักดิ์ กล่าวอีกว่าโดยศูนย์ประสานงานการผลิตและการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ศูนย์กลุ่มจังหวัดคือ อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมาและอุบลราชธานี ได้จัดเก็บข้อมูลความต้องการ กำลังคน ครอบคลุมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม20 จังหวัด และเพื่อนำข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษาดังกล่าว มาใช้วางแผนจัดการเรียนการสอน และพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ตลอดจนส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา Big Data System เพื่อวางแผนจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา ดำเนินการต่อไปอย่างราบรื่น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads