วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

มข.ผนึกกำลังพลิกฟื้นร้านค้าโชห่วยไทย สู้ทุนต่างชาติ

มข.ผนึกกำลังพลิกฟื้นร้านค้าโชห่วยไทย สู้ทุนต่างชาติ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข.ผนึกกำลังพลิกฟื้นร้านค้าโชห่วยไทย สู้ทุนต่างชาติ

 

3 คณะใหญ่ ม.ขอนแก่น ผนึกกำลังเพิ่มขีดความสามารถ ของร้านค้าโชห่วย ท้องถิ่น สู้ร้านค้าขนาดใหญ่จากส่วนกลาง( Modern Trade ) หวังขับเคลื่อน ธุรกิจ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้เติบโตขึ้นมาอย่างแข็งแรง ด้วยความใส่ใจห่วงใยต่อสังคม เชื่อมโยงองค์ความรู้จากภาควิชาการสู่ผู้ประกอบการ SMEs

 

      เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุม อาคารสิม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานการสรุปผลการดำเนินงานโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่นเชื่อมโยง smes เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ระยะที่ 1 โดยมี รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อดีตอธิการบดี มข. ผู้ริเริ่มสนับสนุนโครงการตามนโยบายอุทิศเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข. พร้อมด้วย รศ.ดร.ชูพงษ์  ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข. ตัวแทน รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ  คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มข. ตลอดจน บุคลากร ผู้ประกอบการ ร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังการสรุปผลการดำเนินงาน

นางจิราทิพย์  ซูกิ

     นางจิราทิพย์  ซูกิ อายุ 44 ปี อาชีพค้าขาย ผู้ประกอบการรายย่อย ที่อยู่88/9 เขตเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวว่าตนเองเป็นผู้ประกอบการรายย่อยขาย SMEs การที่ได้มามีส่วนร่วมกับโครงการดีๆของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.ด้วยการเข้ามาเชื่อมโยงงานในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าการที่เราเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้อยากรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ ยกตัวอย่างเช่น Packaging หรือการเชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการเป็นยังไง ซึ่งทางมหาลัยขอนแก่น ได้เปิดโอกาสให้เราได้เข้ามาเชื่อมโยงการค้าขาย เพราะสามารถที่จะเอาไปต่อยอดในธุรกิจเราได้ ในส่วนของธุรกิจเกี่ยวกับค้าขายไม่ได้ทำมาหลายปีแล้ว ส่วนมากก็เป็นขนาดย่อย แต่ว่าตอนนี้ที่ทำก็คือธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โดยกำลังทำงานวิจัย พร้อมทั้งค้าขายธุรกิจค้า ขายเครื่องสำอาง อยากได้ Packaging แล้วก็ทำหน้าร้าน เพราะอยากรู้ว่าหน้าร้านเราควรจะทำยังไง ถึงจะดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ

 

       นางจิราทิพย์ กล่าวด้วยว่าโดยทางคณะสถาปัตย์ มข.ได้เปิดโอกาสให้ได้เข้ามาศึกษาดูงานการทำธุรกิจ โดยมีจุดเด่นคือ เกี่ยวกับการออกแบบ หรือว่าการดีไซน์โลโก้ของผลิตภัณฑ์ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเราเองเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ที่เข้ามาแล้ว ได้เล็งเห็นว่าตัวนี้สามารถที่จะไปต่อยอดของเราได้ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่นี่ และผู้ประกอบการได้เชื่อมโยงกัน ดังนั้นอนาคตจะทำให้การค้าดีขึ้นเพราะที่ผ่านมาจะเป็นการจ้างอย่างเดียว แต่ถ้าถามว่าเป็นการจ้าง เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการที่ค่อนข้างสูง แต่ว่าถ้าเข้ามาในโครงการนี้ก็คือเป็นการลดค่าใช้จ่ายและเป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันในธุรกิจแนะนำน้องๆผู้ประกอบการ ว่ามีโครงการอะไรดีๆ แล้วก็บอกต่อซึ่งกันและกัน เพราะว่าเราเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้น ในเรื่องของผลิตภัณฑ์ธุรกิจของเครื่องสำอาง จากสมุนไพร ไร้สารเคมี เมื่อมาเจอกันในกลุ่ม ซึ่งเราก็แชร์และแบ่งปันสิ่งดีๆให้กัน

รศ.ดร.ชูพงษ์  ทองคำสมุทร

     รศ.ดร.ชูพงษ์ คณบดีคณะสถาปัตย์ มข. กล่าวว่าในส่วนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีสมรรถนะหลักในเรื่องของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการออกแบบในการช่วยเหลือ ในการเข้าไปทำโครงการฯนี้ คือในส่วนแรกพยายามปรับปรุงสภาพแวดล้อมก่อนว่าจะทำอย่างไรให้ร้านค้า มีบรรยากาศที่ดี นั่นก็คือน่าเข้าไปจับจ่ายใช้สอยรวมไปถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ร้านค้า ได้มีความเป็นมิตร ความอบอุ่น อันที่สองก็คือในเรื่องของการออกแบบ การออกแบบ นั้นจะมีการออกแบบทั้งในแง่ของการปรับปรุงลักษณะขององค์กร และมีสีสันเป็นอย่างไร การจัดวางสินค้า น่าจะอยู่บริเวณไหน เพื่อให้บรรยากาศในร้านดีขึ้น

      ซึ่งทางคณะสถาปัตย์ ก็กำลังขยายผลต่อไปในอนาคตแต่หลังจากที่ลงพื้นที่แล้ว จึงพบปัญหาคล้ายๆกัน แล้วก็พบว่าแนวทางการพัฒนา น่าจะไปในทิศทางไหน เช่นเราจะทำเป็นร้านค้าที่เป็นลักษณะสำเร็จรูป เสร็จแล้วจำหน่ายในราคาถูกเพื่ออะไร เพื่อให้ร้านค้าได้สามารถที่จะนำตรงนั้นไปประกอบและติดตั้งได้ภายในเวลารวดเร็ว ตัวสินค้าก็สามารถที่จะนำมาจัดวางได้ดีมีระเบียบที่สำคัญ ต้องเป็นร้านค้าที่สามารถเปิดได้ในเวลาอันสั้น และก็สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างรวดเร็ว อันนี้คือบทบาทของคณะสถาปัตย์ในการที่จะเข้าไปช่วยชุมชนและก็ช่วยเหลือผู้ประกอบการ

 

    รศ.ดร.ชูพงษ์ คณบดีคณะสถาปัตย์ มข. กล่าวอีกว่า การประกันตนของผู้ประกอบการที่เขามีลักษณะที่เป็นเฉพาะตัวที่น่าสนใจ ดังจะเห็นว่าร้านค้าบางร้านค้าจัดร้านค้าได้อย่างที่น่าทึ่งมาก การตกแต่งสีสันที่จัดจ้าน ดึงคาแรคเตอร์นั้นเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในความแตกต่างส่วนสินค้า โดยพยายามที่จะบอกกับผู้ประกอบการ ให้ขายสินค้าภายในชุมชนดีไหม สินค้าออแกนิคดีไหม เพื่อให้เป็นลักษณะของการเติบโตไปกับชุมชนด้วย เพราะน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนี้เป็นของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของนักศึกษา ทำสภาพเดิมก่อนว่าเป็นยังไง จากนั้นค่อยมาสัมมนากลุ่มโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม ดังนั้นเราก็มาคิดกันว่าอะไรคือปัญหา ซึ่งจะเสริมจุดแข็งอย่างไร และเราจะแก้จุดอ่อนอย่างไร เพื่อให้ร้านค้าเขามีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นขึ้นมา ที่จำทำการการเชิงพาณิชย์ให้ดีขึ้น ซึ่งนักศึกษาจะมีส่วนช่วยในเรื่องนี้ค่อนข้างเยอะ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการปรับปรุงพื้นที่เดิมให้เป็นอย่างทางการตลอดจนปรับปรุงข้อดี

 

   ข้อเสีย นำมาพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ซึ่งคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.จะเป็นที่ปรึกษาให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโปรแกรมการจัดเก็บสินค้า การจัดวางสินค้า สินค้าคงคลังเป็นอย่างไร โปรแกรมเรื่องของการจัดซื้อ โปรแกรมเรื่องของการขาย การเช็คสต๊อกสินค้าเป็นอย่างไร หากถ้าไม่เป็นประโยชน์ก็ทักมา สุดท้ายที่ได้ก็คือลักษณะของภาพรวมและองค์กรนี้จะเป็นหนึ่งเดียวกัน แทนที่จะเป็นร้านค้าที่ขายของอย่างหนึ่งอย่างใด แต่หน้าร้านเป็นอีกอย่างนึงตอนนี้ก็กลายเป็นว่าลักษณะของของร้านค้าในจะมีความเป็นอย่างไรและมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดมากขึ้น

รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช

     รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวว่าคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.มีบทบาทสำคัญคือในเรื่องของการบริหารจัดการ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วร้านค้าปลีกโชห่วย หรือร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของของเรา เรื่องของสต๊อก เรื่องของการจัดซื้อของมาขายอะไรต่างๆ ตลอดจนการจัดเก็บ และก็การนำมาโชว์ในหน้าร้าน ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นระบบ ว่าอันไหนมาก่อนไหนมาหลังของ เช่นสินค้าที่มันหายากควรจะวางอยู่ตรงไหนสินค้าคงจะจัดหมวดหมู่ยังไง ในเรื่องของการบริหารจัดการสต๊อก การบริหารจัดการส่วนของสินค้าหมวดหมู่ของสินค้าในร้าน ซึ่งทางคณะฯก็เข้าไปช่วยในส่วนนี้ เพื่อจะได้แนะนำในเรื่องของระบบการจัดซื้อจัดซื้อจัดหาสินค้ายังไง ระบบการจัดซื้อทำยังไง ให้มันไม่ชนไม่จมอะไรแบบนี้ รวมถึงจะซื้อมาแล้วจะลงบัญชีแบบไหนทำยังไงการควบคุมทำยังไงถึงจะทราบว่าของ หายหรือไม่หาย การใช้ระบบบาร์โค้ด กับสินค้าพวกนี้ รวมไปถึงเรื่องของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทำให้คนรู้จักร้านทำไมเขาถึงจะมาเข้าร้าน แล้วก็มีโปรโมชั่นไหมสินค้าที่มันขายออกช้าต้องมาจัดโปรโมชั่นยังไงอะไรต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกเราที่เข้าไปแนะนำ

     รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวด้วยว่าในส่วนของคณะสถาปัตย์ กับทางคณะศิลปกรรมจะดูแลเรื่องของรูปแบบราคาหน้าร้านความสวยงามภาพที่มองเห็นจากข้างนอกแต่ในการบริหารจัดการข้างในที่อยู่เบื้องหลังที่จะทำให้เกิดการ จะช่วยให้ควบคุมต้นทุนที่ต่ำลง ทำให้ได้กำไรที่มากขึ้น หรือการได้กำไรที่มันเหมาะสม รวมทั้งการที่จะทำให้ลูกค้าได้รู้จักได้มั่นใจและไว้วางใจในร้านนี้ ให้เขาสบายใจในการเข้าร้านมาถึงก็ต้องมีความสะอาดสะดวกสวยงามมีแสงสว่างสิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งที่ทางคณะฯเราเข้าไปจัดการโดยที่ไม่ใช่เฉพาะอาจารย์ที่เข้าไปดูแล ยังมีนักศึกษาลงพื้นที่เป็นจำนวน 100 คนเลย ถึงกับบางร้านให้นักศึกษาไปนับสินค้าให้ใหม่ทำสต๊อกให้ใหม่จัดสินค้าให้ใหม่ไปทำอยู่เป็นเดือน นี้คือบทบาทหน้าที่ของเรา ซึ่งก็ทำให้การทำงานในครั้งนี้มันเกิดความสมบูรณ์แล้วก็เป็นต้นแบบของการทำงานแบบบูรณาการ

 

 รศ.ดร.กิตติชัย   ไตรรัตน์์์์์์์์ศิริชัย

ด้าน รศ.ดร.กิตติชัย กล่าวว่าปัจจุบันสภาพการค้าขาย ได้ถูกร้านค้าขนาดใหญ่ที่จากส่วนกลาง เข้ามาในพื้นที่บ้าน เข้ามาทำลายธุรกิจในพื้นที่ธุรกิจค้าขาย ซึ่งเงินมันก็จะเข้าไปที่ส่วนกลาง ซึ่งมันจะมีบ้าง บางธุรกิจของท่านใดที่เงินมันยังอยู่ในท้องถิ่น แต่ถ้าเราทำธุรกิจขนาดเล็กของท้องถิ่นไปหมดเลยคนที่อยู่ที่นี่ดั้งเดิมจะทำมาหากินอะไร ความเป็นมิตรความเป็นเพื่อนมันหายไปหมดเพราะเดิมทีแวะไปร้านนี้หน่อยเป็นเพื่อนกัน เป็นเพื่อนบ้านกันทักทายกัน มีจิตมิตรภาพต่อกันที่ดีแต่ถ้าเรารักษาเขาไว้ เขาก็จะเป็นเพื่อนที่ดีของชุมชนตรงนั้นทำให้ชุมชนมันมีชีวิตชีวาขึ้นมาเหมือนเดิมกับ

    ในอดีตที่ผ่านมาไม่ใช่เข้าไปแต่ร้าน (Modern Trade )ซื้อสินค้าอะไรก็ไม่รู้ราคาก็เป็นราคาแพงเหมือนกันกับร้านค้าโชห่วยนั่นแหละไม่ได้ต่างกันเพียงแต่ร้านค้าจะสะดวกสบายคนขายของหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นเด็กวัยรุ่น แล้วก็ร้านค้าสะดวกสบายมีเครื่องปรับอากาศในขณะที่คนที่อยู่ดั้งเดิมร้านค้าโชห่วยดั้งเดิมเคยอยู่แบบอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันความรู้สึกนี้มันหายถ้าเราฝืนเท่ากับขึ้นมาได้สังคมมันก็จะอยู่ด้วยความอบอุ่นขึ้นนิดกันแล้วก็ให้คำแนะนำ.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads