วันอังคาร 7 พฤษภาคม 2024

ขยะสร้างรายได้ให้หมู่บ้านท่ามะเดื่อน้อย จ.ขอนแก่น

ขยะสร้างรายได้ให้หมู่บ้านท่ามะเดื่อน้อย จ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ขยะสร้างรายได้ให้หมู่บ้านท่ามะเดื่อน้อย จ.ขอนแก่น

แยกขยะสร้างสวัสดิการให้กับชาวบ้านท่ามะเดื่อน้อย
จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ขยะครัวเรือนถูกนำมาชั่งกิโลขาย สร้างรายได้ให้กับครอบครัวแล้ว ยังเป็นการแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารงานของธนาคารขยะของหมู่บ้านท่ามะเดื่อน้อย ส่งผลให้มีเงินสวัสดิการครัวเรือนเมื่อต้องสูญเสียสมาชิกไปไม่มีวันกลับ


ที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่ที่ 3 บ้านท่ามะเดื่อน้อย ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งธนาคารขยะ ชาวบ้านได้นำสิ่งที่ไม่ได้ใช้ภายในครัวเรือน อย่างเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานไม่ได้ พัดลม ทีวี เครื่องเสียง อุปกรณ์ทางการเกษตร ขวดพลาสติก กระป๋อง ลังกระดาษ กระดาษ เศษเหล็ก อลูมิเนียม แม้แต่ข้าวแห้ง ต่างนำใส่รถเข็นน้ำ เข็นออกจากบ้านเพื่อเข้าคิวชั่งกิโลขาย โดยมีเจ้าหน้าที่กรรมการหมู่บ้าน ที่ทำหน้าที่จดบันทึกน้ำหนักและจ่ายเงินให้ซื้อขยะเข้าสู่ธนาคาร


นายตัน เต้จั้น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านท่ามะเดื่อน้อย ในฐานะประธานธนาคารขยะหมู่บ้านท่ามะเดื่อน้อย เผยว่าธนาคารขยะ เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2561 เริ่มแรกไม่มีเงินทุนในการก่อตั้งสักบาทเดียว เพียงแต่มีความเชื่อใจกันภายในหมู่บ้าน โดยชาวบ้านได้นำขยะ หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า (ของฮ้าง) จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เศษพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก อุปกรณ์ทางการเกษตรที่ชำรุดใช้งานไม่ได้ มารวมไว้ที่ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน โดยการชั่งกิโลไว้ ก่อนที่จะมีพ่อค้าคนกลางมารับขยะนั้นไปขาย ซึ่งหลังจากขายเสร็จนำเงินมาแบ่งสันปันส่วนให้กับชาวบ้านเจ้าของขยะ เหลือเงินเป็นกองทุนภายในธนาคารขยะ 1,000 บาท นั่นคือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกองทุนธนาคารขยะ


ครั้งแรกมีสมาชิกจำนวน 78 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นชาวบ้านท่ามะเดื่อน้อย โดยได้ทำการซื้อขยะทุกวันอาทิตย์ของทุกเดือนเฉลี่ยแต่ละเดือนจะกำไรจากการซื้อขายจำนวน 500 บาท สรุปยอดตั้งแต่ปี 2561-2562 มีเงินรายได้เข้าธนาคารจำนวนทั้งสิ้น 19,784 บาท ซึ่งมติในที่ประชุมประชาคมชาวบ้านเห็นตรงกันว่าจะนำเงินที่เป็นผลกำไรมาสร้างสวัสดิการชุมชน โดยการจัดสรรเงินมาเป็นค่าฌาปณกิจสงเคราะห์ศพละ 1,000 บาท ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 และในเพิ่มจำนวนเงินเป็น 1,500 บาทในปี 2562 โดยสรุปทางธนาคารขยะได้จ่ายเงินฌาปณกิจสงเคราะห์ให้กับสมาชิกแล้วจำนวน 7 ราย รวมเป็นเงิน 8,000 บาท


ผู้ใหญ่บ้านท่ามะเดื่อน้อย ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของขยะที่ไม่สามารถนำมาแปลงเป็นเงิน หรือนำมาขายได้นั้น ได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านำไปทำปุ๋ย หรือนำไปทำจุลินทรีย์ ไว้ใช้ในครัวเรือน ซึ่งได้รับการส่งเสริมการทำจากกรมวิชาการเกษตร อีกส่วนก็จะถูกจัดเก็บโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระเสริม เพื่อนำไปบำบัดส่งต่อไปยังโรงงานกำจัดขยะของจังหวัดขอนแก่นอีกต่อไป


และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชนที่สร้างสวัสดิการให้กับชาวบ้าน โดยการจัดการขยะนั้นก็มีหลากหลายแนวทาง อย่างที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกับทางโครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (Waste Side Story)” ครั้งที่ 3

 

ดำเนินการโดยศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97 (5) ปีงบประมาณ 2562 ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยที่แห่งนั้น ก็มีวิธีการกำจัดขยะโดยการฝังกลบจนเกิดเป็นก๊าซชีวภาพแล้วนำไปปั่นเป็นไฟฟ้ากลับคืนสู่ประชาชนให้ได้ใช้กัน ดังนั้น ก็จะเห็นว่า ขยะสามารถสร้างคุณค่าได้ หากรู้จักจัดการอย่างถูกวิธี เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ความร่วมมือบูรณาการของชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นนั่นเอง


#wastesidestory
#wastetoenergy
#พลังงานไฟฟ้าจากขยะ
ศราวุฒิ สีมันตะ อีสานขอนแก่นนิวส์ออนไลน์

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads