วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

มีเฮ!กลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว ผักสด หนองบัว หลัง กฟก.สาขาขอนแก่น ลงพื้นที่ประเมินอนุมัติเงินกู้ยืม ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร

มีเฮ!กลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว ผักสด หนองบัว หลัง กฟก.สาขาขอนแก่น ลงพื้นที่ประเมินอนุมัติเงินกู้ยืม ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มีเฮ!กลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว ผักสด หนองบัว หลัง กฟก.สาขาขอนแก่น ลงพื้นที่ประเมินอนุมัติเงินกู้ยืม ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร


เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ สำนักงานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดหนองบัว นายประดิษฐ์ สิงสง อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาขอนแก่น ปฏิบัติหน้าที่แทน ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาขอนแก่น เป็นประธานในการลงพื้นที่ประเมินความเหมาะสมของแผนหรือโครงการเบื้องต้น พบกับกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพด ผักสด บ้านหนองบัว 127 หมู่ 7 บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น โดยมีนายสมหมาย สีดาคุณ  เป็นประธานกลุ่ม ปลูกข้าวโพด ของบกู้ยืม 500,000 บาท ลงพื้นที่กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพด ผักสด  ในการนี้มีคณะอนุกรรมการฯ โซนกลาง อันมี อ. บ้านฝาง อ.หนองเรือ อ.เมืองขอนแก่น และอ.พระยืน เข้าร่วม ประกอบไปด้วย คณะส่งเสริมศักยภาพขององค์กรเกษตรกรในการพัฒนาแผนและโครงการ อันมีนายคำสังข์ พลหาญ,นายสุรสิทธิ์ เคนพรม ,นายรังสิต ชูลิขิต และน.ส.อภิญญา อุทัยแสน รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น และคณะประเมินความเหมาะสมของแผนหรือโครงการเบื้องต้น มีนายสมยงค์ แก้วสุพรรณและนายชูไทย วงศ์บุญมี ประธานศูนย์กลาง เข้าร่วมประเมินอีกทั้งนายภัยนริทร์ เพชรแสน อนุ กรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาขอนแก่นร่วมสังเกตการณ์ ในครั้งนี้

น.ส.อภิญญา อุทัยแสน

น.ส.อภิญญา อุทัยแสน ในนามของ พนักงานอาวุโส รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าตามเจตนารมณ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพ รวมตัวกันเป็นองค์กรจัดทำแผนและโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ด้านการตลาด ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร


   น.ส.อภิญญา กล่าวด้วยว่า นับได้ว่าเป็นการ พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกรอีกทั้งพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร รวมถึงการให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ซึ่งได้บัญญัติขั้นตอนต่างๆ ไว้ตั้งแต่ การขึ้นทะเบียน การเสนอแผนหรือโครงการ วิธีการเสนอ การพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล

นายสมหมาย  สีดาคุณ 

ด้านนายสมหมาย  สีดาคุณ อายุ 67ปี ประธานกลุ่มชุมชน กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดหนองบัว กล่าวว่า ยอดขายข้าวโพด ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 มียอดรวม2,533,257.65


สาวนค่าใช้จ่ายรวม 2,325,279.50 คงเหลือ207,978.15 บาท ซึ่งในการขอกู้ เงินในครั้งนี้เป็นวงเงิน 500 ,000 บาท ซึ่งจากการลงประชามติกันในกลุ่มสรุปแล้ว จะจ่ายเป็น 6 ปีโดยปีแรกจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย คงเงินต้นไว้ ตาดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อปี สรุปคือส่งดอกเบี้ยปีละ 5,000 บาท
   นายสมหมาย กล่าวด้วยว่าความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวโพดผักสด หนองบัว นั้นจัดตั้งแต่ปี 2548 มีสมาชิกทั้งหมด 76 ครอบครัว มีพื้นที่ในการขาย บริเวณริมถนนมะลิวัลย์ เส้นทาง ชุมแพ – ขอนแก่น ช่วงกม. ที่ 24-25 ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้ ดำเนินการขายได้ ลักษณะ เป็นตลาดชน 1 ชุด และตลาดพรีเมี่ยม บนห้าง Top Supermarket ของห้างเซ็นทรัล ขอนแก่น ซึ่งจะขายได้รวมกันประมาณวันละ 5 ตัน ส่วนปัญหาในการปลูกมีอาทิแหล่งน้ำที่ใช้ในการปลูกข้าวโพด พร้อมทั้งด้านโรคภัยของข้าวโพด ด้านความต้องการความช่วยเหลือ ประการสำคัญคือน้ำแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน ที่ต้องใช้ในการปลูกหมุนเวียนได้ตลอด ที่ผ่านมา ได้มีหลากหลายหน่วยงาน รับปากว่าจะลงมาดูแล ในการสนับสนุนแต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่มีหน่วยงานใดสนับสนุนแต่อย่างใด


   นายสมหมาย กล่าวอีกว่าในวันนี้ต้องขอบคุณที่คณะอนุกรรมการกองทุนฯผู้ใหญ่ ที่ลงพื้นที่ประเมินและแนะนำ ให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวโพด ซึ่งได้เสนอขอเงินกู้เพื่อมาพัฒนาองค์กร ในรูปแบบทั้งการส่งเสริมที่จะให้พี่น้องสมาชิกฯ ก้าวเข้าไปสู่เป็น เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีแบบยั่งยืน โดยการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ จากกองทุนฟื้นฟูฯมาเพื่อเริ่มต้นให้กับพี่น้อง เพราะว่า เกษตรกรไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเขาเอง ในขณะเดียวกัน จะต้องลดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน

   ซึ่งต้องมีต้นทุนในการซื้อ ดังนั้น เลยขอกู้ยืมจาก กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาส่วนหนึ่งให้กับพี่น้อง ส่วนอีกเรื่อง จะนำเงินที่ได้ไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ที่ให้ผลผลิตสูง นำมาต่อยอด ในการปลูกข้าวโพด ในครั้งนี้ ที่ผ่านมาราคาข้าวโพดเป็นระนาบ เดียวกันมาโดยตลอด ซึ่งนับว่าเป็นคนดีต่อ การปลูกข้าวโพดปลูกทั้งปี ปลูกได้ 4 รอบ แต่ตอนนี้ กูแค่เพียง 2 รอบต่อปีเพราะปัญหาอยู่ที่แหล่งน้ำ ในการใช้ปลูก.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads