วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

 “นร.สาธิตฯ (มอดินแดง) มข.”ประดิษฐ์รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ บังคับด้วยคลื่นวิทยุ ผลงาน คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 Thailand New Gen Inventor Award 2021-2022 ในงาน “วันนักประดิษฐ์”

 “นร.สาธิตฯ (มอดินแดง) มข.”ประดิษฐ์รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ บังคับด้วยคลื่นวิทยุ ผลงาน คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 Thailand New Gen Inventor Award 2021-2022 ในงาน “วันนักประดิษฐ์”
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “นร.สาธิตฯ (มอดินแดง) มข.”ประดิษฐ์รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ บังคับด้วยคลื่นวิทยุ ผลงาน คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 Thailand New Gen Inventor Award 2021-2022 ในงาน “วันนักประดิษฐ์”


“นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ผู้ประดิษฐ์และอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าที่ควบคุมด้วยรีโมทวิทยุผ่านการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ  พร้อมทั้งยังดัดแปลงให้สามารถฉีดพ่นสารสกัดยับยั้งแมลงศัตรูพืชของทุเรียน นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับรถตัดหญ้า ลดระยะเวลาในการกำจัดวัชพืชและปราบแมลงศัตรูพืชของต้นทุเรียนได้ในเวลาเดียวกัน”


   เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีและให้โอวาทแก่นักเรียนผู้ประดิษฐ์และอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงาน“รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ โดยใช้กลไกการบังคับด้วยคลื่นวิทยุสำหรับการแก้ไขปัญหาการปลูกทุเรียนของเกษตรกร” ที่สามารถคว้า รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในระดับมัธยมศึกษา กลุ่มการเกษตร ใน “วันนักประดิษฐ์” จากเวที Thailand New Gen Inventor Award 2021-2022 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้แนวคิด “วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม”


   สำหรับ ผลงาน“รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ โดยใช้กลไกการบังคับด้วยคลื่นวิทยุสำหรับการแก้ไขปัญหาการปลูกทุเรียนของเกษตรกร” ผู้ประดิษฐ์คิดค้น เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ที่มีความสนใจทางด้าน การออกแบบเทคโนโลยี การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์และงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย นางสาวกมลนันท์ วงศ์พรมบุตร นายคุณากร ตั้งตระกูล นางสาวญาณภา สิงห์คราม นายวงศ์รวี ศรีไชยโย นายปวริศ กองเงินนอก ร่วมกับคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษา ประกอบด้วย อาจารย์ไชยเดช แก้วสง่า อาจารย์กุลธิดา ทองนำ อาจารย์อรงกรต ปีกลม อาจารย์ศิริชัย ตั้งตระกูล


   จุดเริ่มต้นการประดิษฐ์ “นวัตกรรมรถตัดหญ้า” เกิดจากปัจจุบันการปลูกทุเรียนในเขตพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพเป็นที่รู้จักกันในนาม “ทุเรียนภูเขาไฟ” แต่เนื่องจากความนิยมในการปลูกทุเรียนมีขึ้นได้ไม่นาน  ทำให้เกษตรกรยังขาดความรู้ในการปลูกทุเรียนในหลายประเด็น อาทิ วิธีการกำจัดวัชพืช และ แมลงศัตรูพืช  นอกจากนี้ในการปลูกทุเรียนจะต้องใช้พื้นที่ในการปลูกที่มีขนาดใหญ่  ซึ่งในการกำจัดวัชพืชเกษตรกรชาวสวนทุเรียน นิยมเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายที่ใช้แรงงานคน แต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้เครื่องตัดหญ้าแบบรถขับจะสามารถใช้ได้กับพื้นที่บริเวณกว้างได้ดีกว่า  แต่มีข้อจำกัดในเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูง  และมีการดูแลรักษาของระบบเครื่องยนต์ไฮโดรลิคที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงรักษาและมีค่าใช้จ่าย


   จากเหตุผลข้างต้น  นักเรียนผู้ประดิษฐ์และอาจารย์ที่ปรึกษา จึงได้ประดิษฐ์คิดค้นการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชของต้นทุเรียนในพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง  โดยทำการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าที่พบทั่วไป  ให้มีความเหมาะสมกับเกษตรกรทั้งด้านต้นทุนและการบำรุงรักษา  สามารถใช้งานได้กับพื้นที่ขนาดใหญ่  ด้วยการพัฒนาเป็นรถตัดหญ้าที่ควบคุมด้วยรีโมทวิทยุผ่านการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ  นอกจากนี้ผู้จัดทำโครงงานยังดัดแปลงรถตัดหญ้านี้ให้สามารถฉีดพ่นสารสกัดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแมลงศัตรูพืชของทุเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับรถตัดหญ้า ลดระยะเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชของต้นทุเรียนในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายทุเรียนเพิ่มขึ้นในช่วงระยะยาวต่อไป
   ความสำเร็จที่เกิดจากการแก้ไขปัญหาจริงในพื้นที่ ไปพร้อมๆกับการใช้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนครั้งนี้ ทำให้ผลงาน“รถตัดหญ้าและพ่นสารทางชีวภาพ โดยใช้กลไกการบังคับด้วยคลื่นวิทยุสำหรับการแก้ไขปัญหาการปลูกทุเรียนของเกษตรกร”  สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จากเวที Thailand New Gen Inventor Award 2021-2022 ใน “วันนักประดิษฐ์” ได้ในที่สุด โดยได้รับเหรียญรางวัล Gold เงินรางวัลจำนวน 40,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ.

 รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads