วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

“กฟก.ขอนแก่น” อนุมัติเงินกู้ยืม 28 องค์กร เป็นเงินกว่า 8 ล้านบาท

“กฟก.ขอนแก่น” อนุมัติเงินกู้ยืม 28 องค์กร เป็นเงินกว่า 8 ล้านบาท
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“กฟก.ขอนแก่น” อนุมัติเงินกู้ยืม 28 องค์กร เป็นเงินกว่า 8 ล้านบาท


นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนภารกิจให้เป็นรูปธรรม อย่างเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลางวงเงิน 2,000 ล้านบาทรายการเงินสำรองจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เพื่อดำเนินการ แก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร


   เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 ที่ ห้องประชุมแก่นขาม ชั้น 2 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ตำบลทำพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ยืม 28 องค์กร เป็นเงิน 8,685,000.-บาท โดยมีนายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 นายสานิต เชิดโคกสี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น นายวรเชษฐ์ ชาวเหนือ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตรสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น รักษาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายประดิษฐ์ สิงสง คณะอนุกรรมการกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น พนักงาน ลูกจ้าง และ ตัวแทนเกษตรกร 28 องค์กร เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง


นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 เปิดเผยว่าจากการที่ นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนภารกิจให้เป็นรูปธรรม อย่างเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลางวงเงิน 2,000 ล้านบาทรายการเงินสำรองจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เพื่อดำเนินการ แก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดตั้ง โดย พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การรวมกลุ่มของเกษตรกร ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม พัฒนาความรู้ด้านเกษตรกรรม พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร และแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร

  ด้านนายสานิต เชิดโคกสี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึง รายชื่อองค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วยสำนักงานกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีอุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามที่ สำนักงานเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นเงิน 269,617,500 บาท เป็นงบสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 6 โครงการ และโครงการกู้ยืมจำนวน 776 โครงการ นั้น


นายสานิต กล่าวอีกว่าเพื่อให้การพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพ.ศ. 2542 ประกอบความในข้อ 9 และข้อ 10 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขององค์กรเกษตรกร การติดตามและประมินผลการดำเนินการ การเบิกจ่ายเงินและการใช้คืนเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2563 จึงออกประกาศลำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดขอนแก่น เรื่อง รายชื่อองค์กรเกษตรกร28 องค์กรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ยืมงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2565 เป็นเงิน 8,685,000.-บาท.

นายสานิต กล่าวด้วยว่าอาทิกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองแวงโครงการที่เสนอเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 95 คน มีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 10 คน งบประมาณกู้ยืมที่องค์กรเสนอ 500,000 บาท งบประมาณกู้ยืมตั้งต้น 300,000 บาท ประเภทงบกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท กิจกรรมกู้ยืมเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ ตัวแทนได้กล่าวถึงความรู้สึกหลังจากที่ได้ได้รับอนุมัติเงินกู้ยืมงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2565 เกษตรกรได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูอาชีพ มีโอกาสฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้นำไปชำระหนี้ตามกำหนด และทำให้เข้าถึงแหล่งทุนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพอย่างยั่งยืน.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads