วันอาทิตย์ 28 เมษายน 2024

“คณะสาธารณสุข มข.” เจ้าภาพหลักประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ 2565

“คณะสาธารณสุข มข.” เจ้าภาพหลักประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ 2565
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “คณะสาธารณสุข มข.” เจ้าภาพหลักประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ 2565

เพื่อให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ และการสร้างเครือข่ายด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) โดยมีรูปแบบการจัดประชุม on-site และ online กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย องค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น


   เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2565 ณ ท้องประชุมมงกฎเพยร โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น อ.เมือง จ,ขอนแก่น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ 2565 และปาฐกฤาพิเศษ “15 ปี พรบ.สุขภาพแห่งชาติ กับการขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ” แบบระบบออนไลน์ โดยมี นายแพทย์ประทีป  ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานอนุกรรมการจัดการประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง นายสุทธินันท์ บุญมี ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เขต7 ผู้บริหารบุคลากรของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ และสื่อมวลชนร่วมงาน

  ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์

ศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานอนุกรรมการจัดการประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวว่าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายสถาบันวิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพทั่วประทศ ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ. 2565 ภายใต้ประเด็นหลัก การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ประกอบด้วย เวที่สวนา 1 “โอกาสและความท้าทาย: ทิศทางการขับเคลื่อน HA ของหน่วยงาน ภาคียุทธศาสตร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้หลักเกณฑ์ HIA ฉบับที่ 3” เวทีเสวนา 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของภาคีเครื่อข่าย ในระดับต่างๆ (Best Practice) และเวทีเสวนา 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนา Research mapping เพื่อพัฒนาประเด็นวิจัยการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการการนำเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ระหว่างพื้นที่ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการภายใต้กระบวนการ HIA


      ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA Forum) พศ. 2565 “HIA สู่การสร้างสังคมสมานฉันท์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ในวันนี้ ซึ่งท่านทั้งหลายในฐานะผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ และจะเข้ามาร่วมเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือที่เราเรียกว่า Health Impact Assessment หรือเรียกกันย่อๆ ว่า HIA เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบสุขภาพและสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเกียรติจากภาคีเครือข่ายสถาบันวิชาการ HIA Consortiumในการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นแกนนำได้มีการสร้างความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)และเครือข่ายสถาบันวิชาการ HIA Consortium ทั้งในภาคอีสาน และในภาคอื่นๆ


   ในการร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อน HIA ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้การจัดการงานวิจัย และสนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้สามารถดำเนินการทำ HIAโดยเชื่อมโยงกับการศึกษาในหลักสูตรและการจัดอบรมระยะสั้นต่างๆ รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการนำกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในระดับต่างๆ มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ในการสนับสนุนการทำ HIA ในระดับต่างๆมีหลายกรณีที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนการทำ HIA โดยชุมชน
ในประเด็นการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล
ซึ่งมีการดำเนินการศึกษาร่วมกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ของภาคอีสานและสามารถนำผลการทำ HIA ชุมชนในเชิงประเด็นร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการในการยกระดับเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลในภาคอีสาน
   ซึ่งได้นำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในเชิงนโยบายที่เกิดจากผลการทำ HIA ในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นบทบาทของนักวิชาการและสถาบันวิชาการ ในการใช้องค์ความรู้สนับสนุนการดำเนินการและการช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชนและรวบรวมผลการศึกษาและความรู้ที่ได้ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายเสนอต่อหน่วยงานองค์กรที่รับผิดชอบในระดับชาติ


  นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ

ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวโยงกับมิติทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เราได้เห็นชัดเจนถึงความเชื่อมโยงกันของสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในขณะที่ประเทศไทยต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น HIA จึงถือเป็นเครื่องมือทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะนำมาสู่การลดความขัดแย้ง ลดการเผชิญหน้าของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

    นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า เครื่องมือ HIA จะต้องอาศัยองค์ความรู้ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันต้องมีนักวิชาการที่มีใจสาธารณะเป็นผู้ดำเนินการสนับสนุน และที่สำคัญจะต้องมีสถาบันทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในพื้นที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางทางวิชาการของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก


  นายอนุทิน ชาญวีรกูล

ส่วน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่าHIA เป็นเครื่องมือสำคัญภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่าง 2 ความต้องการ นั่นคือความต้องการการพัฒนาและความต้องการปกปักรักษาฐานทรัพยากรด้วยสิทธิชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า พื้นที่ใดที่มีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เข้าไปก็มักจะเกิดความเห็นต่างและอาจพัฒนาเป็นความขัดแย้งและการเผชิญหน้ากันในพื้นที่


   สำหรับ HIA ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยหาทางออกร่วมกัน โดยใช้ข้อเท็จจริงทางวิชาการเป็นตัวตั้ง และมุ่งหมายที่จะชักชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ 2. ผู้ได้รับผลกระทบที่ส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่ 3. ผู้ควบคุมกฎเกณฑ์หรือภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามาพูดคุยกันบนฐานข้อมูลทางวิชาการภายใต้กระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อสกัดออกมาเป็นข้อเสนอหรือแนวทางการพัฒนาหลายๆ ทาง ซึ่งทั้ง 3 ภาคส่วนยอมรับร่วมกัน


  

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads