วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

“ม.ขอนแก่น”จัดอบรม STEAM Education ปลูกฝังแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“ม.ขอนแก่น”จัดอบรม STEAM Education ปลูกฝังแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“ม.ขอนแก่น”จัดอบรม STEAM Education ปลูกฝังแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 เพื่อสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย เรื่อง STEAM Education สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมมือกับ บริษัท Toyo System Co., LTD. และ The Mathematics Certification Institute of Japan และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดสัมมนา “University-Industry Collaboration seminar” ภายใต้หัวข้อ “Development of Environmental Consciousness in Problem-Solving based on STEAM Education” ในโครงการสร้างจิตสำนักทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEM Education ในการแก้ปัญหา โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวเปิดงาน และมี Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD. Keynote Speaker เป็นวิทยากร ในหัวข้อ“Corporate Social Responsibility” ร่วมบรรยายผ่านทางออนไลน์ จากประเทศญี่ปุ่น โดยมี นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมออนไลน์ และในห้องประชุมชั้น 4 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน
กิจกรรมการสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ “สร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education หรือ แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้และสามารถนาองค์ความรู้ ไปพัฒนาจนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา” ร่วมกันระหว่าง 4 องค์กร จาก 2 ประเทศ ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริษัท Toyo System ประเทศญี่ปุ่น สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น (SUKEN Japan) และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด โดยมี วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง Education and academic transformation โดยเป้าหมายหลักเพื่อมุ่งส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงพร้อมกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์เรื่อง SDG ที่มหาวิทยาลัยกำลังขับเคลื่อน และสนับสนุนการจัดการศึกษาในทิศทางของโลก

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวว่า ตามที่หลายท่านอาจจะทราบแล้วว่า บริษัท TOYO SYSTEM ได้ทำ CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้ แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education
“โดยวิทยากรที่ท่านให้เกียรติมาบรรยายนั้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่นำโรคร้ายหลายอย่างมาสู่คน ในประเทศญี่ปุ่น CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ท่านประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้ แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education”
การจัดงานครั้งนี้ เพื่อให้ผู้คนตระหนึกถึง การพัฒนาพลังงานโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม การควบคุมและใช้ประโยชน์พลังงานจากไฮโดรเจน และเห็นความสำคัญของความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ mathematical thinking สอดคล้องกับการให้บริการทางวิชาการแนวใหม่ (Academic Service Transformation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาของสังคม (Center of Social Wisdom) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) สู่การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value : CSV) เพื่อสร้างการสร้างจิตสำนึก และให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย เรื่อง STEAM Education สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board,

Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD. กล่าวว่า ปลายศตวรรษที่ 18 อุตสาหกรรม ทำให้ชีวิตมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น คนตามภูมิภาคย้ายเข้ามาในเมืองใหญ่หมด ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น ในขณะนั้นต้องยอมรับว่าวงการอุตสาหกรรมถนอมรักษาสิ่งแวดล้อมน้อยไป กล่าวคือยังไม่สามารถคิดผสานระหว่างเทคโนโลยีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ฉะนั้นทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพน้ำ อากาศ ของเสีย และสิ่งรบกวน ด้านคุณภาพน้ำ ขาดไม่ได้ในชีวิต แต่เมื่อปนเปื้อนสกปรก จากการทำธุรกิจอุตสาหกรรมของเราต้องคิดคำนึงสิ่งนี้ให้มาก อากาศ ทราบมาว่าที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยมีปัญหาอย่างมาก จึงควรหันไปใช้พลังงานทดแทน สำหรับยานพาหนะ เพราะทั่วโลกมีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ปล่อยออกมาจำนวนมาก ทั่วโลกพยายามไปใช้รถไฟฟ้า แต่อย่าลืมว่าไฟที่ใช้ชาร์จ มาจากไหนมีต้นทุนผลิตที่ทำให้เกิดสาพิษสู่อากาศอยู่ดี ซึ่งทางบริษัทของเราคาดว่าจะสามารถคิดค้นพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราว 10 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามได้โปรดอย่าละความพยายามที่จะคิดค้นนวัตกรรมที่สบายสะดวกสำหรับมนุษย์ ใช้หลักการ STEAM Education การที่เราจะผลิตสิ่งใหม่นี้ สตรีมมีความจำเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามให้คำนึงถึงผู้อื่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เพื่อลดของเสีย และพัฒนาวงการอุตสาหกรรมให้เกิดสิ่งรบกวนต่อโลกของเรา
“อย่างไรก็ตามอยากให้ไทยเรียนรู้จากความผิดพลาดจากประเทศญี่ปุ่น ให้บริษัทเราเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศของท่าน หวังว่าญี่ปุ่นและไทย จะพัฒนาเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังให้เด็กนักเรียน ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยให้เห็นด้วยตาตัวเอง เช่น หากเราไม่สนใจสิ่งแวดล้อมแล้ว ผลกระทบจะกลับมาที่ตัวมนุษย์อย่างไร”


ด้านนายอนุชา โคยะทา นักศึกษาปริญญาเอก ชั้น ปี 1 สาขาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ทำให้ตนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เรียนรู้กับความผิดพลาด จากการพัฒนาเทคโนโลยี จนเล็งเห็นสิ่งแวดล้อมน้อยไป ควรเอามาพัฒนาประเทศไทยต่อความรู้ใหม่คือ รถยนต์ไฟฟ้าดีต่อสิ่งแวดล้อมจนลืมคิดว่าไฟฟ้าก็มีต้นทุน การใช้น้ำมัน ซึ่งมันก็ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ต้นกำเนิดยังไม่มิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง เชื่อว่าในอนาคตจะเห็นเทคโนโลยี รถยนต์ใช้พลังงานน้ำ ไฮโดรเจน กว่าจะพัฒนานาได้ความหวังคือ 10 ปี ข้างหน้า
“เราในฐานะนักการศึกษาคิดว่าจะนำความรู้ในการอบรม ไปใช้ในการจัดการศึกษาของเรา โดยปลูกฝังให้นักเรียนสร้างจิตสำนึก สร้างสถานการณ์ปัญหาดึงมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ให้เขาเห็นปัญหาจริง ให้ตระหนักกับปัญหานั้น เด็กจะได้ใส่ใจ คิดหาทางช่วยกันในการแก้ไขปัญหาในสังคมไทย เราอาจไม่ได้มองถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ต้องมองถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปด้วย” นักศึกษา ผู้ร่วมอบรมกล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads