วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

องค์กรเกษตรกร ขอนแก่น แห่!รับการประเมินผล ฟื้นฟูและพัฒนา

องค์กรเกษตรกร ขอนแก่น แห่!รับการประเมินผล ฟื้นฟูและพัฒนา
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

องค์กรเกษตรกร ขอนแก่น แห่!รับการประเมินผล ฟื้นฟูและพัฒนา

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น จัดโครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 12 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่นตามเจตนารมณ์ ของกองทุนฟื้นฟูฯที่จะสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การพื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 19 สิงหาคม 2565 ที่ หอประชุมเทศบาลตำบลโนนศิลา ตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น นายวราพงษ์ แสนศรี นายกเทศมนตรีตำบลโนนศิลา ประธานใน พิธีเปิดการอบรม”โครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น” โดยมี นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการฯ นายสุเนตร แก้วคำหาร รองประธานอนุกรรมการ คนที่ 1,นายไพโรจน์ มูลธิยะ รองประธานอนุกรรมการ คนที่ 2,นายเสน่ห์ นาบำรุง,นายสมพงษ์ อันพิมพ์, นายวีระวัฒน์ อ้วนสา, นายประดิษฐ์ สิงสง,นายชูไทย วงศ์บุญมี,นายรังสิต ชูลิขิต,นายภัยนรินทร์ เพ็ชรแสน, คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ร่วมในพิธีเปิดการอบรมพร้อมทั้งให้ความรู้และแนะนำแก่เกษตรกร

 

ในการจัดประชุมฯ ได้เชิญประธาน หรือผู้แทนองค์กรเกษตรกร ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จาก12 อำเภอ ได้แก่อำเภอบ้านไผ่,อำเภอโนนศิลา ,อำเภอบ้านแฮด อำเภอแวงน้อย ,อำเภอแวงใหญ่, อำเภอพล, อำเภอหนองสองห้อง อำเภอเปือยน้อย, อำเภอชนบท ,อำเภอพระยืน, อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอโคกโพธิ์ไชย จำนวน 183องค์กร เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมฯด้วย รวมทั้งสิ้น 200 คน

 นางสายทิพย์ รามา

นางสายทิพย์ รามา อายุ 55 ปี อาชีพเกษตรกร บ้านโคกสว่าง ต.คอนฉิม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น มาร่วมงานโครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในวันนี้ เพราะว่าเป็นสมาชิกขององค์กรกลุ่มข้าวแตนสมุนไพร สายทิพย์ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 75 คน โดยปัจจุบันเป็นหนี้ของสำนัก งาน ธกส.อำเภอแวงใหญ่ ประมาณ 3 ล้าน ที่ผ่านมาได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแล้วจำนวน 500,000 บาท โดยจะทำการส่งปีหนึ่ง 100,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้ในปี 2564 ซึ่งจะทำการส่งจำนวน 5 ปี หลังจากที่ได้รับเงินทุนไปแล้ว ทำให้มีเงินทุนในการซื้อวัตถุดิบ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ตลอดจนทำให้มีการขยายตลาดเพิ่มขึ้น อีกทั้งชาวบ้านเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรฯ ซึ่งมีรายได้จากเดิม 200 – 300 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 400 บาทถึง 500 บาทต่อวัน สิ่งที่อยากฝากถึงกองทุนฟื้นฟูฯ คือต้องขอบคุณ ที่ กองทุนฟื้นฟูฯที่ให้โอกาสเกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ จากการที่เป็นหนี้เป็นสินพอได้เข้ามาอยู่ในกองทุนฟื้นฟูฯทำให้ได้รับสนับสนุน งบกู้ยืม ถือว่าเป็นองค์กร ที่สุดยอดมากเกษตรกรได้รับประโยชน์ เพราะถ้าเกษตรกรเดือดร้อน สามารถพึ่งพาอาศัยหาเงินทุนจากกองทุนณแห่งนี้ได้

นายสานิต เชิดโคกศรี

ด้าน นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษครกร สาขา จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544 และ 2563 ตามเจตนารมณ์ของกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่จะการสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร บทบาทการสนับสนุนงานฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะอนุกรรมการกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด จึงได้เชิญประชุมประธานหรือผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ในวันนี้

นายสานิต กล่าวต่อไปว่าโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการการจัดการหนี้ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 2.เพื่อสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม สำนักงานสาขาจังหวัด องค์กรเกษตรกร อนุกรรมการจังหวัด ภาคีความร่วมมือ ในการรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความมีอยู่ จริงขององค์กรเกษตรกรและสมาชิกองค์กรที่เคยได้รับงบสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาฯ และองค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุน และ ตรวจสอบความมีอยู่จริงรายชื่อ เกษตรกรสมาชิกที่ที่ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร และ3.เพื่อสะสางข้อมูลทะเบียนองค์กรเกษตรกรและสมาชิกทะเบียนเกษตรกรสมาชิกที่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร

นายสานิต กล่าวเพิ่มเติมว่าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น มีองค์กรเกษตรกร จำนวน 928 องค์กร สมาชิกองค์กร 263,740 ราย มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนหนี้ จำนวน 20,849 ราย 30,426 สัญญา มูลหนี้ 2,563,760,322.03 บาทผลการดำเนินงานฯ ได้สนับสนุนเงินอุดหนุนให้กับองค์กรเกษตรกร 292 โครงการ เป็นเงิน14,898,269 บาท ได้สนับสนุนเงินกู้ยืมโครงการฯ 58 องค์กร รวมเป็นเงิน 26,791,900.00 บาท ชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 491 ราย เป็นเงิน 78,214,947.30 บาท ชำระหนี้แทนเกษตรกรตามสถาบันเจ้าหนี้ ดังนี้ 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 19 ราย เป็นเงิน 5,329,035.30 บาท2. ธนาคาพาณิชย์ จำนวน 27 ราย เป็นเงิน 2,281,066.49 บาท3. สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) จำนวน 432 ราย เป็นเงิน 66,203,407.27 บาท4. นิติบุคคล จำนวน 10 ราย เป็นเงิน 4,007,945.24 บาทและ5. บุคคลภายนอก (NPA)จำนวน 3 ราย เป็นเงิน 393,493.00 บาท รวมจำนวน 491 ราย เป็นเงิน 78.214.947.30 บาทโดยรักษาที่ดินให้เกษตรกรเป็นจำนวน 341 แปลง เนื้อที่ 2,391 ไร่ 1 งาน 48.2 ตารางวา ในจำนวนนี้เกษตรกรได้ชำระหนี้คืนกองทุนพื้นฟูฯ ปิดบัญชีแล้ว 97 ราย และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเกษตรกรแล้ว 136 แปลง เนื้อที่ 1,125 ไร่ 0 งาน 40.1 ตารางวา

นายวราพงษ์ แสนศรี

ส่วน นายวราพงษ์ แสนศรี นายกเทศมนตรีตำบลโนนศิลา กล่าวว่า”โครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น”ในวันนี้ จากการรับฟังคำกล่าวรายงาน นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้เข้าประชุมฯในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ดีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่นการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นภารกิจงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่จะต้องหาแนวทางช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และรักษาที่ดินของเกษตรกร เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แต่การดำเนินการต่าง ๆ ทุกส่วนงานต้องมีความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างเกษตรกร เจ้าหนี้ และกองทุนฟื้นฟูฯ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้

นายวราพงษ์ กล่าวอีกว่า การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ให้เกษตรกรมีอาชีพ มีรายได้ดำรงชีพอยู่ได้ เพื่อสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดขอนแก่น องค์กรเกษตรกรอนุกรรมการจังหวัด ภาคีความร่วมมือ รวมทั้งการตรวจสอบความมีอยู่จริงขององค์กรเกษตรกร และตรวจสอบความมีอยู่จริงรายชื่อเกษตรกรสมาชิก ที่ที่ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร เพื่อสนับสนุนงบประมาณการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้กับองค์กรเกษตรกร และการแก้ไขช่วยเหลือหนี้สินของเกษตรกรต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads