วันอังคาร 30 เมษายน 2024

“จ.ขอนแก่น”อบรมพระแกนนำ เพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในวัดและชุมชน

“จ.ขอนแก่น”อบรมพระแกนนำ เพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในวัดและชุมชน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “จ.ขอนแก่น”อบรมพระแกนนำ เพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในวัดและชุมชน

มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (HealthNet) สำนักงานภาคอีสานร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 7ขอนแก่น และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแกนนำพระสงฆ์เพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในวัดและชุมชน สำหรับพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติผ่านการอบรมพระคิลานุปัฏฐากมีจิตอาสาในการทำงานด้านสุขภาพ


เมื่อวันที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น บ้านโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร. รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการสนับสนุนการให้บริการถวายสุขศึกษา คำปรึกษาแนะนำ การส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ และการประเบิน สภาวะสุขภาพ (NCO9) ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงฯ ระดับพระแกนนำ (ครั้งที่ 2)สนับสนุนงบประมาณ โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.เขต 7จัดทำโดย มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (HealthNet) สำนักงานภาคอีสานร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 9 ขอนแก่น และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.กล่าวรายงาน โดย ตัวแทนจากโครงการวัดปลอดบุรี่ สสส.ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการฯ โดย นายศักดิ์ชัย ไชยเนตร รักษาการแทน ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (สำนักงานภาคอีสาน)พิธีกรโดย นายธวัชชัย จันจุฬา และนางอโนทัย ฝ้ายขาว และอ.ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์คณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน 7 ร่วมเป็นวิทยากรพูดในเรื่องแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการในชุมชน และคณะทำงานแกนนำพระคิลานุปัฎฐาก ประจำจังหวัด จำนวน 60 รูปร่วมรับการถวายสุขศึกษา และคำปรึกษา


นายศักดิ์ชัย ไชยเนตร รักษาการแทน ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (สำนักงานภาคอีสาน) กล่าวรายงานถึงหลักการและเหตุผลด้วยมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ (HealthNet) ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะพระคิลานุปัฏฐาก เขตสุขภาพที่ 7 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถวายการคัดกรองประเมินความเสี่ยง และถวายสุขศีษา คำปรึกษา คำแนะนำ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สำหรับพระคิลานุปัฏฐาก และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการดูแลสุขภาพ จากการดำเนินงานโครงการฯ พบว่าพระคิลานุปัฎฐาก เขตสุขภาพที่ 7 ” ที่เข้าร่วมประเมินความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19 พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน และ ติดเชื้อโควิด-19 (แยกกักตัวและส่งต่อรักษา) และดำเนินการถวายสุขศึกษา ให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกิจกรรม 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคอ้วน และการบริหารธาตุขันธ์ 6) การคัดกรอง และเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง 3) การคัดกรองและเฝ้าระวังโรคเบาหวาน และ 4) เรียนรู้เรื่องการคัดกรองและป้องกันตนเอง โรคโควิต-19 และการจัดการขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง


ซึ่งผลการประเมินก่อนและหลังการอบรม พบว่า พระคิลานุปัฎฐากมีความรู้ความเข้าใจในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 94.82และพระแกนนำทุกรูปมีส่วนร่วมในการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ซึ่งผลการดำเนินงาน พบว่า พระคิลานุปัฏฐาก 246 รูป (ร้อยละ 84.82) สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตระดับไขมันในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ พระศิลานุปัฏฐากกลุ่มเสี่ยง 24 รูป (ร้อยละ 8.27) ที่ต้องติดตามสภาวะสุขภาพ และ พระคิลานุปัฏฐาก 20 รูป ที่มีโรคประจำตัว ต้องเข้ารับการรักษาและรับยาต่อเนื่อง (ร้อยละ 6.89) ผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้พบว่า การจัดบริการถวายการคัดกรองและการประเมินความเสี่ยงและการจัดบริการถวายสุขศึกษา คำปรึกษา คำแนะนำ เกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) ประกอบด้วย 1) การคัดกรองและการเฝ้าระวังโรคอ้วน และการบริหารธาตุขันธ์ 2) การคัดกรอง และเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง 3) การ
คัดกรองและเฝ้าระวังโรคเบาหวาน และ 4) เรียนรู้เรื่องการคัดกรองและป้องกันตนเอง โรคโควิด-19 และการจัดการขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สอดคล้องกับ ธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560
ซึ่งมีเป้าหมายการขับเคลื่อน ส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ ตามหลักการของธรรมนูญว่าด้วย แห่งชาติ ประเด็นสำคัญ คือ พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเอง ตามหลักพระธรรมวินัย และบทบาทพระสงฆ์ในการเป็น ผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม โดยยึดหลักการสำคัญ คือ การใช้ทางธรรมนำทางโลก และมาตรการสำคัญในการดำเนินการ 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ข้อมูล การพัฒนา การบริการสุขภาพ และการวิจัย ที่ ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

อ.ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์

ด้าน อ.ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์ คณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน 7 กล่าวว่าวันนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เราจะขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ ซึ่งตนเองในฐานะที่เป็นกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน ที่ 7 ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 ที่ได้พยายามเชิญชวนเครือข่ายของ กขป.7 ให้มาช่วยขับเคลื่อน ร่วมมือ บำรุงพระสงฆ์แห่งชาติ เครือข่ายหลักที่สำคัญก็คือ มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย หรือ มจร. วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งเรามีสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7, ศูนย์อนามัยที่ 7 มีสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 เป็นต้นอันเป็นภาคีองค์กรหลัก
โดยจะทำ 3 เรื่องๆที่ 1 คือพระดูแลพระ อันนี้รูปประธรรมที่เป็นผลผลิต ที่สำคัญ เราสามารถสร้างภาพพระคิลานุปัฏฐาก ปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 7 – 800 รูป ครอบคลุมใน 4 จังหวัดในพื้นที่ของเขตสุขภาพที่ 7 ที่จะดูแลพระสงฆ์ด้วยกัน พระคิลานุปัฏฐาก นั้นแปลง่ายๆ ก็คือ อสม.พระนั่นละ ที่จะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ เรื่องที่ 2 ก็คือพระดูแลโยม พระดูแลโยม ศซึ่งนั่นคือ ภารกิจของพระสงฆ์ มีหน้าที่ๆจะต้องดูแลพระอยู่แล้ว ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ มอบหมายไว้ การที่พระจะดูแลโยม เราจะเน้นไปที่บทบาทภารกิจ ที่พระจะไปสร้างสุขภาวะให้กับญาติโยม ไม่ว่าจะเป็นสุขภาวะทางกายสุขภาวะทางจิต วิญญาณ
ที่สำคัญก็คือการสร้างปัญญาให้กับชุมชน ตอนนี้เราก็พยายามที่จะ นิมนต์ หรือเชิญชวนพระรุ่นใหม่ พระหนุ่มๆทั้งหลาย มีพลังที่มีความต้องการช่วยเหลือสังคม ให้เข้ามา มีส่วนร่วมที่จะสร้างช่วยเหลือสังคม ในรูปแบบต่างๆเช่น สร้างชุมชนรมณีย์ หรือชุมชนที่รักสิ่งแวดล้อม เรื่องของอาชีพ เรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพ เรื่องดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ หลายๆเรื่องรวมกัน อันนี้พูดง่ายๆเป็นเรื่องพระดูแลโยม และส่วนที่ 3 คือโยมดูแลพระ อันนี้เราก็พยายามสนับสนุนให้หน่วยบริการ ดูแลเรื่องสุขภาพของพระสงฆ์ รวมถึงญาติโยมที่ใส่อาหารในบิณฑบาต ซึ่งเราพบว่ามีพระสงฆ์หลายรูปที่เจ็บป่วย ด้วยโรคเบาหวาน โรคติดต่อที่ไม่เรื้อรัง อันนี้เราพยายามที่จะลด สิ่งเหล่านี้ให้กับท่าน โดยการใส่อาหารบิณฑบาต หรือถวายอาหารในบิณฑบาต ให้กับท่าน ใส่อาหารที่มีคุณภาพ หรือเป็นอาหารที่ปลอดภัย อันนี้คือความเป็นมา
สำหรับวันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่เราได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคีเครือข่าย ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ให้เงินทุนมาเพื่อจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่เรานิมนต์พระที่มีจิตใจที่จะพัฒนา มาช่วยเหลือชุมชน จิตอาสา เรานิมนต์มาวันนี้ประมาณ 50 กว่ารูป เพื่อที่จะหาหนทางร่วมกันว่าพระคุณเจ้าเหล่านี้ จะมีบทบาทอย่างไรทำงานในสังคม ส่วนเรื่องสำคัญที่เราจะมุ่งเน้นก็คือการสูบบุหรี่ เราพยายามรณรงค์ให้พระสงฆ์เลิกสูบบุหรี่ในเขต 7 ใน 100% ถ้าในการบริหารของพระสงฆ์ เราเรียกว่าเขต 9 ของพระแต่ในทางสาธารณสุข เรียกว่าเขต 7 อันนี้อย่างน้อยเจ้าอาวาสทุกวัดต้องไม่สูบบุหรี่ ก้าวต่อไปพระต้องไม่สูบบุหรี่ และก้าวต่อไปญาติโยมที่ไปทำบุญที่วัดต้องไม่สูบบุหรี่ อันนี้เป็นกิจกรรมหนึ่ง และพยายามจัดสรรให้พระ มีงบประมาณสนับสนุน
ส่วนงบประมาณที่ว่านี้คืองบประมาณสนับสนุนจากหลักประกันสุขภาพระดับตำบล วันนี้เราก็จะถวายความรู้กับท่านที่ว่า ถ้าท่านอยากได้งบประมาณ เพื่อที่จะไปขับเคลื่อนการสร้างงานสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชน ซึ่งมีงบก้อนหนึ่งที่เรียกว่า กองทุนสุขภาพตำบล ที่จะไปสนับสนุนท่านได้ อันนี้ก็เป็นสาระสำคัญที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันนี้ เราก็หวังว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราหวังว่าอย่างน้อยที่สุด หวังว่าพระเหล่านี้ จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชน เป็นพระที่เชิญชวนผู้นำชุมชน เข้ามาสร้างเสริมสุขภาวะ สู่ชุมชนนอกจากเรื่องไม่สูบบุหรี่แล้ว ยังมีเรื่องอื่นด้วยเช่นอาหารปลอดภัย เรื่องสุขภาวะของผู้สูงอายุ และรวมไปถึง ป้องกันรักษาโรคต่างๆ เช่นโรค มะเร็งพยาธิใบไม้ในตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีและโรคเบาหวานเป็นต้น

พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร. รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตขอนแก่น
ท้ายสุด พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร. รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตขอนแก่น กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ ขออนุโมทนา และขอบคุณ ภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่พึ่งทำวันสองวันมา ทั้งในแง่การดำเนินงานของ ธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์ สุขภาพ เพื่อดำเนินตามนโยบายของมหาวิทยาลัยสมาคม ในเรื่องของวัดบันดาลใจ หรืองานสาธารณสุข ข้อที่เกี่ยวข้องกับ การดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจ สุขภาพทางกายทางจิตทางสังคมและทางปัญญาอันนี้ก็ทำมาต่อเนื่องอันที่ 2 คือการสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งโดยใช้พลังบวรอันนี้ก็ถือว่าเป็นปัจจัยในการสำเร็จแต่ที่อยากจะให้เป็นหัวใจสำคัญคือการสร้างพาสต้นแบบในพื้นที่ทางจิตใจและทางปัญญาให้มากขึ้นในทุกมิติ ในส่วนสุดท้ายก็คือเป็นเป้าประสงค์ที่ตรงกันในที่เราจะไปทำเป็นพุทธนิษฐานของพระพุทธเจ้าเราทำให้สังคมเป็นสุขร่วมกัน แต่สังคมจะอยู่อย่างสันติสุขร่วมกัน ได้อย่างไร คือเรื่องของภาวะสุขภาพทางกายสุขภาพทางสังคมทางจิตใจและทางปัญญาอันนี้ก็คือสิ่งที่เราทำอยู่อย่างต่อเนื่องและจะทำต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads