วันอาทิตย์ 28 เมษายน 2024

ศูนย์สาธารณสงเคราะห์ จ.ร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนการจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพของชุมชน สู่การปฏิบัติในพื้นที่เขต 7

ศูนย์สาธารณสงเคราะห์ จ.ร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนการจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพของชุมชน สู่การปฏิบัติในพื้นที่เขต 7
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ศูนย์สาธารณสงเคราะห์ จ.ร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนการจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพของชุมชน สู่การปฏิบัติในพื้นที่เขต 7

กขป.7 พร้อมด้วย ศอ.7,ศูนย์สาธารณสงเคราะห์ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนการจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพของชุมชน จัดประชุมพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในชุมชนแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์สู่การปฏิบัติในพื้นที่เขต 7


เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่ วัดหนองใหญ่ บ้านหนองใหญ่ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด พระเดชพระคุณ พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในการเปิดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในชุมชนแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้งานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระครูโพธิวีรคุณ เจ้าคณะอำเภอปทุมรัตต์ ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ คณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ในการจัดงาน มีผู้เข้าประชุมในวันนี้ ประกอบด้วย พระเถรานุเถระ พระคิลานุปัฏฐากแกนนำและพระสังฆาธิการ ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 27 รูป, นายสุทธินันท์ บุญมี ประธานคณะกรรมการ กขป. 7 พร้อมด้วยคณะกรรมการ กขป. 7, ผู้แทนจากศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ,ว่าที่ ร.ท.ธวัชชัย เหมวังค์ นายอำเภอศรีสมเด็จ หัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้นประมาณ 52 คน


พระครูโพธิวีรคุณ เจ้าคณะอำเภอปทุมรัตต์ ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ คณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าในนามคณะกรรมการ กขป.7 และผู้เข้าประชุมในวันนี้ ขอกราบขอบพระคุณ พระเดชพระคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณา มาเป็นประธานในการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในชุมชนแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้งานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันนี้


พระครูโพธิวีรคุณ กล่าวอีกว่าจากการการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์สู่การปฏิบัติในพื้นที่เขต 7 มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้าน พระดูแลพระ ที่ทางมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพภาคอีสาน (Healthnet) และทางศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมดำเนินการผ่านโครงการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในเขตสุขภาพที่ 7 โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.เขต 7 มาดำเนินการพัฒนาศักยภาพพระคิลาฯ ให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง จนเกิดพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ


พระครูโพธิวีรคุณ กล่าวด้วยว่าการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในชุมชนแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้งานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันนี้ เป็นกิจกรรมหนึ่ง ในการขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560ให้เป็นรูปธรรม อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 หรือ กขป. 7 และ หน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่าย ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน


พระครูโพธิวีรคุณ กล่าวเสริมว่าโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำให้มีทักษะความรู้ในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ในพื้นที่ เกิดการบูรณาการงานของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำในจังหวัดร้อยเอ็ด หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกชุมชน และการดำเนินงานสาธารณสงเคราะห์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดกลไกการทำงานร่วมกัน ระหว่างพระคิลานุปัฏฐาก ภายใต้บริบทของ ศูนย์สาธารณสงเคราะห์ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดแนวทางการขับเคลื่อนการจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพของชุมชน


ด้านพระเดชพระคุณ พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าวว่าในวันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่พระสงฆ์ได้มาทำหน้าที่ในบทบาทพระคิลานุปัฎฐาก ในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะของพระสงฆ์รวมทั้งสุขภาวะในชุมชน ในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 หมวด 4 ข้อ25 ได้กล่าวไว้ว่า สังคมและชุมชน พึงเปิดกว้างให้พระสงฆ์และคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะในทุกมิติด้านสุขภาพของชุมชนและสังคม คือการให้พระคิลานุปัฎฐากได้ทำหน้าที่ในการเข้าไปช่วยเหลือดูแลสุขภาวะของชุมชนในบทบาทหน้าที่ของพระคิลานุปัฎฐานที่ทำได้นอกเหนือจากการที่ดูแลพระสงฆ์ด้วยกันเอง
พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเพิ่มเติมว่างานสาธารณสงเคราะห์ เป็นงานที่พระสงฆ์ได้ขับเคลื่อนมาโดยตลอดทั้งในยามปกติ คือ ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อให้สังคมเกิดความร่มเย็นเป็นปกติสุข และในยามวิกฤต เช่น เกิดภัยพิบัติต่างๆ พระสงฆ์ก็เข้าไปให้ให้ความช่วยเหลือในนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 ที่ผ่านมาพระสงฆ์เองได้เปิดวัดให้เป็นสถานที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ใช้เป็นสถานที่ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 จึงถือได้ว่าเป็นอีกบทบาทหนึ่งของพระสงฆ์ในงานสาธารณสงเคราะห์ในการช่วยเหลือประชาชนร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในยามปกติสุขและในยามวิกฤตเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด


พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต่อไปว่าในการจัดการประชุมในวันนี้ เพื่อให้พระคิลานุปัฎฐากได้ทบทวนความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาร่วมสร้างกลไกการทำงานแบบบูรณาการในชุมชนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเชื่อมโยงกับงานสาธารณสงเคราะห์ในพื้นที่ได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
ขอขอบคุณทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 ที่ให้การสนับสนุน พระสังฆาธิการ พระคิลานุปัฏฐาก ท่านผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ท่านผู้นำชุมชน และคุณโยมฆราวาส ทุกท่าน ที่มีส่วนสนับสนุนการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำในครั้งนี้
“สุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่าน ได้ช่วยกันสานพลังทำงานครั้งนี้ให้บังเกิดผล และขออำนวยอวยพร ให้การดำเนินงานการประชุม ประสบความสำเร็จตามที่คาดหมายไว้ทุกประการ บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ขอเปิดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากแกนนำ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในชุมชนแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้งานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ จังหวัดร้อยเอ็ด ณ บัดนี้”พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads