วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

“เขื่อนอุบลรัตน์” วิกฤต เหลือน้ำใช้การได้อีกแค่ฤดูฝนหน้า

“เขื่อนอุบลรัตน์” วิกฤต เหลือน้ำใช้การได้อีกแค่ฤดูฝนหน้า
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“เขื่อนอุบลรัตน์” วิกฤต เหลือน้ำใช้การได้อีกแค่ฤดูฝนหน้า

รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่รับฟังการบรรยายบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องน้ำให้กับประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วอนพี่น้องประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ


เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ 9 ตุลาคม ที่ห้องประชุมอาคาประชาสัมพันธ์ เขื่อนอุบลรัตน์ (กฟผ.) อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พล.อ.ฉัตรชัย. สาริยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับฟังการชี้แจงบรรยายบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องน้ำให้กับประชาชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี ดร.สมเกียรติ. ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนช.)ดร.ทองเปลว. กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม รอง ผวจ.ขอนแก่น พล.ต.กาจบดินทร์ ยิ่งดอน ผอ.สน.ปรมน.จังหวัดที่ 12 (ขอนแก่น) ดร.พัฒนา. นุศรีอัน เกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ.ขอนแก่น นายพิทัตย์ คงสินทวี ผอ.โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อฟอ.) เขื่อนอุบลรัตน์ นายณัฐภัทร พลอย สุภา นายอำเภออุบลรัตน์ นางวันเพ็ญ แก้วแกมทอง หัวหน้ากองจัดการน้ำ (กฟผ.) พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และสื่อมวลชน ร่วมชี้แจงและรับฟัง

พล.อ.ฉัตรชัย สาริยะ
พล.อ.ฉัตรชัย สาริยะ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์ปริมาณน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนยังวิกฤต ในแต่ละวันต้องระบายน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศ ประมาณวันละ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่มีการส่งน้ำเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร งดปลูกข้าวนาปัง ซึ่งมีปริมาณน้ำใช้การได้อีกประมาณฤดูฝนปีหน้า จึงขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ ขณะที่กรมชลประทาน ต้องการน้ำที่ 374 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งขาดปริมาณน้ำอยู่ที่ 54 ล้านลูกบาศก์เมตร


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่าช่วงที่เป็นปัญหาของระดับปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา จากการคาดการณ์ว่าจะมีฝนตก ในช่วงนี้ของทุกปี จะมีฝนเข้ามาในช่วงเวลานี้ แต่ปรากฏว่าฝนตกน้อยมาก ต่ำกว่าเกณฑ์เยอะมากเลยทีเดียว ส่งผลให้น้ำที่มีอยู่ในเขื่อน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่า ตกใจคือมีอยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่าง หรือความจุที่ปริมาณน้ำใช้การได้อีก 320ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือน้ำใช้การได้แค่ฤดูฝนหน้าเท่านั้น ดังนั้นในวันนี้ตนเองจึงลงพื้นที่เน้นย้ำในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพราะเห็นว่าในภาคอีสานมีอยู่ 2 เขื่อนที่เป็นปัญหาอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องมองไปข้างหน้าดูว่าจะแก้ไขและจะเตรียมการอย่างไรเกี่ยวกับน้ำในเขื่อนของภาคอีสาน ที่กำลังเกิดวิกฤติ มีเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำนางรอง ที่มีปัญหา ในเรื่องน้ำ


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่าสำหรับการเดินทางมาวันนี้ก็คาดหวังว่าจะมีโอกาสรับทราบปัญหาและก็วางแผนร่วมกันซึ่งเราได้ประชุมกันเมื่อสักครู่นี้แล้ว จากนี้ไปในการบรืหารจัดการน้ำเง จะต้องทำอย่างระมัดระวัง ดังนั้น การจะใช้น้ำในที่มีอยู่ในเขื่อนต้องเป็นไปตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งความสำคัญ ลำดับรองมาคือการรักษาระบบนิเวศ ศูนย์ภาคเกษตรจะต้องมาปรับกันใหม่หมดเลย ว่าจะทำการเกษตรได้มากน้อยขนาดไหนในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทานเมื่อเราวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแจ้งให้พี่น้องประชาชนทราบเลยว่าการทำเกษตรจะทำได้หรือไม่ทำตรงไหนบ้าง ไม่ได้ตรงไหนไม่ได้ และการทำเกษตรควรจะทำแบบไหนใช้น้ำมากน้ำน้อย หรือว่าควรจะเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงสัตว์ในระยะสั้นๆแทนเพื่อให้มีรายได้หรือแม้กระทั่งเรื่องการจ้างงานของหน่วยงานที่มีอยู่เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ โดยอาจจะต้องมีการทำเกษตรไป แต่เรื่องทั้งหมดต้องแจ้งพี่น้องประชาชน ให้ทราบก่อนๆที่เขาจะเริ่มลงมือ


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวด้วยว่าอีกเรื่องหนึ่งที่ตนเองได้ขอให้ทางเขื่อนทุกเขื่อนทำกันก็คือว่าการมีมาตรฐานในการรักษาระดับน้ำในเขื่อน โดยจะมีเกณฑ์ของมันอยู่ วันนี้คงต้องกลับไปทบทวนเรื่องนี้กันใหม่หมดเลย ต้องไปดูว่าปีไหนน้ำมาก หรือถ้าสถานการณ์น้ำเริ่มดูว่าจะไม่ดี ผลจะเป็นยังไง ควรที่ตนได้ขอให้ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ไปเตรียมแผนงานที่จะรองรับเรื่องนี้ โดยในปี 59 เกิดปัญหาเรื่องน้ำในเขื่อนมีปริมาณน้อย ที่ผ่านยังผ่านพ้นไปได้ มีพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายน้อยเพราะเตรียมการมาล่วงหน้า ในวันนี้ก็ต้องไปเตรียมการในลักษณะนั้นอย่างน้อยก็ต้องให้ไม่น้อยกว่าปีที่เกิดความเสียหาย การเตรียมการที่ดีจะทำให้พี่น้องเกษตรลดความเดือดร้อนลงได้


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่าเป้าหมายที่เดินทางมาในวันนี้ อยากเห็นการทำงานร่วมกัน กับการแก้ปัญหาเรื่องงานจะแก้เพียงแค่หน่วยงานเดียวไม่ได้ โดยในวันนี้ข้อมูลของของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งดูแลโดยการไฟฟ้ามีข้อมูลหมด ตลอดจนข้อมูลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการทำงานกันจริงๆ ช่วยกันสร้างความรู้ให้พี่น้องประชาชน เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเตรียมแนวทางการช่วยเหลือและแก้ปัญหา ให้กับประชาชน โดยที่จังหวัดทำอย่างเดียวไม่ได้เพราะในขณะเดียวกันในเวลานี้ถ้ามีโอกาสหรือมีความชื้นสัมพัทธ์พอที่จะทำฝนหลวงได้ระดมเรียกว่าหลายๆหน่วยงานที่ทำเครื่องบิน ที่มาทำการทำฝนเทียม เพราะฝนได้ในช่วงเดือนตุลาคมจะเริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆแต่ว่าก็ไม่ใช่ว่าจะยกเลิกไปเลย

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads