วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

“KKBS “ลงพื้นที่เมืองร้อยเอ็ด ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร พร้อมดันสู่ชุมชนต้นแบบ

“KKBS “ลงพื้นที่เมืองร้อยเอ็ด ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร พร้อมดันสู่ชุมชนต้นแบบ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“KKBS “ลงพื้นที่เมืองร้อยเอ็ด ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร พร้อมดันสู่ชุมชนต้นแบบ


เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สัย และ ร้าน ขนมโชคดี อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด นายทวี จงประเสริฐ รอง ผวจ.ร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดงานโครงการนวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)เพื่อชุมชน ของ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น  โดย ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค จัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการต้นทุนและกำหนดราคามาตรฐานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารของคนในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรม จัดการความรู้และสื่อความหมายสร้างการเรียนรู้เชิงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว

นายทวี จงประเสริฐ

โดยใช้อาหารพื้นถิ่น เป็นจุดขาย จัดทำมาตรฐานการบริการทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่สร้างสรรค์โดยใช้วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นเป็นฐาน ให้แก่ภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวในเขตตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีร.ต.สุพจน์ บุญประชุม นายกอบต.โพธิ์สัย  กล่าวต้อนรับวิทยากร ผศ.ดร.ฐิรชญา ชัยเกษม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในโครงการและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมอบรมเพื่อนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไปปรับใช้กับชุมชนท่องเที่ยวของตนเองอย่างคับคั่ง

ผศ.ดร.ฐิรชญา ชัยเกษม

ผศ. ดร.ฐิรชญา  ผอ.ศูนย์วิจัยการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายการกระตุ้นการท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่เป็นเมืองรอง เพื่อเป็นการกระจายโอกาสเชิงพื้นที่และกระจายรายได้ให้กับท้องถิ่นและชุมชน ในแคมแปญ “Amazing Thailand Go Local” เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 55 เมืองรอง โดยจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองรองและชุมชนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน สร้างรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากกว่า 350,000 ล้านบาท

โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองจะเน้นการจัดกิจกรรมตามเทศกาลสำคัญ และวันหยุดยาวต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน วิถีถิ่น และสิ่งแวดล้อมจากการสนับสนุนการท่องเที่ยวใน 55 เมืองรอง หนึ่งในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหนึ่งใน 55 เมืองรองที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว


ผศ. ดร.ฐิรชญา  กล่าวเสริมว่าพื้นที่ชุมชนตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหนึ่งในพื้นที่ชุมชนต้นแบบตามนโยบายมหาวิทยาลัยขอนแก่น


“ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก (CAPTOUR) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงคุณค่าและอัตลักษณ์ชุมชนที่สามารถกระตุ้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอีสานพื้นถิ่น ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงรุกสำหรับเมืองรอง และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาอาหารควบคู่กับการท่องเที่ยวรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาหารไทยของภาครัฐ ที่ขยายออกไปสู่ระดับสากลเนื่องจากอาหารพื้นถิ่นมีความเป็นอัตลักษณ์ในรูปแบบของชุมชนและมีการสืบทอดต่อกันมานานนับร้อยปี ทั้งนี้ยังมีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตและ วัฒนธรรมของคนในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนออัตลักษณ์และวัฒนธรรมตามจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวอันเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจที่จะให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นครั้งแรก เกิดความประทับใจในรสชาติของอาหารและต้องการกลับมาเยือนอีกในครั้งต่อๆไป

ผศ. ดร.ฐิรชญา กล่าวกล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่ชุมชนในครั้งนี้ ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้และพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนตำบลโพธิ์สัย เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  และเล็งเห็นว่าพื้นที่ชุมชนตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จะต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถเป็นชุมชนต้นแบบ ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น (Local Gastronomy Tourism) ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ซึ่งมีเป้าหมายได้แก่ 1) เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนที่มีระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว  2) เกิดการจัดการความรู้ข้อมูลต้นทุนการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 3) เกิดการจัดการความรู้ข้อมูลราคามาตรฐานสำหรับบริการทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 4) เกิดการจัดการความรู้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารและลงทุนทางวัฒนธรรมอาหารของชุมชนตำบลโพธิ์สัย ที่ถูกต้องสมบูรณ์   5) . เกิดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาการจัดการความรู้และเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร และทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนตำบลโพธิ์สัย 6) เกิดมาตรฐานทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 16 มาตรฐาน ตามเกณฑ์นานาชาติ.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads