วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

การจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี

การจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

การจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี

หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1.ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicit Phase) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเริ่มกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ เข้าใจพื้นฐานความรู้ของตน และสร้างความรู้ได้อย่างมีจุดหมาย โดยการตั้งคำถาม หรือยกตัวอย่างสถานการณ์จากผู้สอน ช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

2. ขั้นสร้างความสนใจ (Engage Phase) เป็นขั้นตอนนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน เนื้อหา สถานการณ์ หรือเรื่องที่สนใจ

3. ขั้นสำรวจและค้นหา (Explore Phase) ขั้นนี้นักเรียนจะได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งผ่านการตรวจสอบมาแล้วในขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม มาจัดและเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำลังจะจัดการเรียนการสอน โดยมีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับตรวจสอบ เช่น การทดลอง การทำกิจกรรมภาคสนาม การสร้างสมมติฐาน การลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

4. ขั้นอธิบาย (Explain Phase) เป็นขั้นที่ต่อเนื่องมาจากขั้นที่ 3 คือการนำเอาความรู้ในขั้นที่ 3 มาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาความรู้ นำข้อมูล ข้อสนเทศต่าง ๆ มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างแบบจำลอง การบรรยายสรุป

5. ขั้นขยายความคิด (Elaborate Phase) เป็นขั้นตอนการเชื่อมโยงความรู้ที่สร้างขั้นใหม่ด้วยบทเรียนที่ผู้สอนจัดให้กับความรู้เดิม

6. ขั้นประเมินผล (Evaluate Phase) เป็นขั้นตอนประเมินผลการเรียนรู้ เช่น ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินทักษะกระบวนการคิดต่าง ๆ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ

7.ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extend Phase) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสามารถนำความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำความรู้ที่ได้รับไปสร้างความรู้ใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้

โดยมีการบูรณาการการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ ในเนื้อหาบทเรียน หรือสร้างมโนมติที่ถูกต้องในระดับความเข้าใจที่ต้องใช้มโนภาพ จินตนาการ ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเนื้อหาที่กำลังเรียน และใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการสืบค้น การตรวจสอบทดลอง และการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมสำนักงาน (Microsoft Office) ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (World Wide Web) และโปรแกรมกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ในการทำกิจกรรมการทำแบบทดสอบผ่านเว็บไซต์ kahoot.com และ เว็บไซต์ mentimeter.com การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Dual Function Generator ให้กำเนิดเสียงที่สามารถปรับค่าความถี่ได้ในการทดลอง การใช้แอปพลิเคชัน Signal Generator ในการทดลอง การใช้นาฬิกาจับเวลาของโทรศัพท์มือถือ การใช้โทรศัพท์มือถือในการสแกน QR Code ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน และครูแนะนำให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ ที่มีความน่าเชื่อถือ และให้ข้อมูลถูกต้อง


ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี

ผู้วิจัย นายณรงค์ศักดิ์ เอื้องสัจจะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2562


บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาผลทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี รูปแบบการวิจัยแบบแผนการวิจัยแบบก่อนทดลอง (Pre-Experamental Designs) แบบ The single group posttest only designs กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเจาะจงเลือก (Purposive Sampling) โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โครงการส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สาย GIFTED) โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียงและการ ได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 20 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียงและการได้ยิน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 85.29 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนมีคะแนนที่อยู่ในช่วงในระดับมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับปานกลางขึ้นไป จำนวน 27 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 79.41 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1.ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicit Phase) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและจำเป็นในการเริ่มกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ เข้าใจพื้นฐานความรู้ของตน และสร้างความรู้ได้อย่างมีจุดหมาย โดยการตั้งคำถาม หรือยกตัวอย่างสถานการณ์จากผู้สอน ช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

2. ขั้นสร้างความสนใจ (Engage Phase) เป็นขั้นตอนนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน เนื้อหา สถานการณ์ หรือเรื่องที่สนใจ

3. ขั้นสำรวจและค้นหา (Explore Phase) ขั้นนี้นักเรียนจะได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งผ่านการตรวจสอบมาแล้วในขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม มาจัดและเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำลังจะจัดการเรียนการสอน โดยมีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับตรวจสอบ เช่น การทดลอง การทำกิจกรรมภาคสนาม การสร้างสมมติฐาน การลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

4. ขั้นอธิบาย (Explain Phase) เป็นขั้นที่ต่อเนื่องมาจากขั้นที่ 3 คือการนำเอาความรู้ในขั้นที่ 3 มาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาความรู้ นำข้อมูล ข้อสนเทศต่าง ๆ มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างแบบจำลอง การบรรยายสรุป

5. ขั้นขยายความคิด (Elaborate Phase) เป็นขั้นตอนการเชื่อมโยงความรู้ที่สร้างขั้นใหม่ด้วยบทเรียนที่ผู้สอนจัดให้กับความรู้เดิม

6. ขั้นประเมินผล (Evaluate Phase) เป็นขั้นตอนประเมินผลการเรียนรู้ เช่น ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินทักษะกระบวนการคิดต่าง ๆ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ

7.ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extend Phase) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสามารถนำความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำความรู้ที่ได้รับไปสร้างความรู้ใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้

โดยมีการบูรณาการการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ ในเนื้อหาบทเรียน หรือสร้างมโนมติที่ถูกต้องในระดับความเข้าใจที่ต้องใช้มโนภาพ จินตนาการ ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเนื้อหาที่กำลังเรียน และใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการสืบค้น การตรวจสอบทดลอง และการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมสำนักงาน (Microsoft Office) ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (World Wide Web) และโปรแกรมกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ในการทำกิจกรรมการทำแบบทดสอบผ่านเว็บไซต์ kahoot.com และ เว็บไซต์ mentimeter.com การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Dual Function Generator ให้กำเนิดเสียงที่สามารถปรับค่าความถี่ได้ในการทดลอง การใช้แอปพลิเคชัน Signal Generator ในการทดลอง การใช้นาฬิกาจับเวลาของโทรศัพท์มือถือ การใช้โทรศัพท์มือถือในการสแกน QR Code ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน และครูแนะนำให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ ที่มีความน่าเชื่อถือ และให้ข้อมูลถูกต้อง
ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี

ผู้วิจัย นายณรงค์ศักดิ์ เอื้องสัจจะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาผลทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี รูปแบบการวิจัยแบบแผนการวิจัยแบบก่อนทดลอง (Pre-Experamental Designs) แบบ The single group posttest only designs กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเจาะจงเลือก (Purposive Sampling) โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โครงการส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สาย GIFTED) โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียงและการ ได้ยิน โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 20 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียงและการได้ยิน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 85.29 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนมีคะแนนที่อยู่ในช่วงในระดับมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับปานกลางขึ้นไป จำนวน 27 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 79.41 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E บูรณาการใช้เทคโนโลยี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads