วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

ชาวบ้าน อ.เมืองขอนแก่น 3 ตำบล ฮือ!ต้านเสาส่งสัญญาณ แฉเล่ห์หลอกเซ็นยินยอม/หวั่นทำลายสุขภาพ

ชาวบ้าน อ.เมืองขอนแก่น 3 ตำบล ฮือ!ต้านเสาส่งสัญญาณ แฉเล่ห์หลอกเซ็นยินยอม/หวั่นทำลายสุขภาพ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ชาวบ้าน อ.เมืองขอนแก่น 3 ตำบล ฮือ!ต้านเสาส่งสัญญาณ แฉเล่ห์หลอกเซ็นยินยอม/หวั่นทำลายสุขภาพ

ชาวบ้านหน้าค่าย ร.8 ขอนแก่น ชุมนุมค้านไม่เอาเสาสัญญาณดีแทค ห่วงผลกระทบสุขภาพ สุดเจ็บใจขั้นตอนทำประชาพิจารณ์ให้อนุญาตก่อสร้าง ไม่โปร่งใส ตัวแทนหลอกให้ผู้นำชุมชนเซ็นรับรอง กระทั่งได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

   เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ที่บริเวณสถานีรับส่งสัญญาณคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ดีแทค ใกล้ค่ายกรมทหารราบที่ 8 พื้นที่ ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่น ตัวแทนชาวบ้านที่เดือดร้อนในรัศมีเสารับ-ส่งสัญญาณมือถือดีแทค กว่า 50 คน ได้ชุมนุมเรียกร้องให้รื้อถอนเสารับ-ส่งสัญญาณมือถือดังกล่าว เพราะเกิดความกลัวว่า เสารับ-ส่งดังกล่าว จะเกิดผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน รวมทั้งไม่พอใจในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น ก่อนจะก่อสร้างเสารับ-ส่งสัญญาณดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านอ้างว่าดีแทคไม่เปิดให้ประชาชนรับทราบ

ซึ่งเสารับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือดังกล่าว ได้รับอนุญาตก่อสร้างจากเทศบาลตำบลบ้านเป็ด ตามหนังสือเลขที่ 153/2563 ลงนามโดยนายปรีดา นิลสาคู ปลัดเทศบาลตำบลบ้านเป็ด รักษาการ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเป็ด เป็นเสารับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900, 1800, 2100, 2300 MHz เป็นเสาสูงแบบ Self Support Tower สูง 42 เมตร ตั้งอยู่บริเวณใกล้ค่ายกรมทหารราบที่ 8 พื้นที่ ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น เริ่มก่อสร้างเมื่อ 5 มีนาคม 2563 ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 5 มิถุนายน 2563

นางสกุณา  สะอาดเอี่ยม

นางสกุณา สะอาดเอี่ยม อายุ 53 ปี ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงกับเสาส่งสัญญาณ เปิดเผยว่าการมาเรียกร้องวันนี้ เพื่อขอความเป็นธรรม ที่ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเสารับ-ส่งสัญญาณมือถือดีแทค เพราะชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการรับ ส่งสัญญาณคลื่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งชาวบ้านมีที่อยู่อาศัยในรัศมีไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งบริษัทไม่ได้มาสอบถามชาวบ้านว่า จะมีการก่อสร้างเสารับส่งสัญญาณขึ้นในพื้นที่ใกล้ที่อยู่ของชาวบ้าน บางรายมีที่ดินติดกับเสารับส่ง เพียงแค่ 2 เมตรเท่านั้น

ชาวบ้านไม่พอใจขั้นตอนจัดทำประชาพิจารณ์ถึงการจะก่อสร้างสถานีรับส่งสัญญาณคลื่นมือถือ และอนุญาตให้จัดตั้งเสารับส่งสัญญาณนั้นไม่ถูกต้อง เพราะตัวแทนดีแทคได้ใช้กลอุบายไปจัดรับฟังความคิดเห็น กับชุมชนที่ห่างไกลจากจุดก่อสร้างเสารับส่งฯ ห่างจากเสารับส่ง ไปถึง 2 กิโลเมตร ซึ่งไม่ใช่เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเสารับส่ง ขณะที่ชาวบ้านในรัศมีเสารับส่งสัญญาณกลับไม่รู้เรื่องการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเลย

“ที่สำคัญการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นวันนั้น ตัวแทนดีแทคได้นำหนังสือมาให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 22 ต.บ้านเป็ด เซ็นชื่อ อ้างว่าเป็นหนังสือประกอบการจัดเวทีประชาพิจารณ์เท่านั้น ไม่ใช่หนังสืออนุญาต หากจะตั้งจริงจะจัดประชุมอีกหลายครั้ง ซึ่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไม่ได้อ่านรายละเอียดหนังสือดังกล่าว จึงเซ็นชื่อไป แต่ข้อเท็จจริง ได้เซ็นหนังสืออนุญาตให้จัดตั้งเสารับส่งสัญญาณมือถือไปแล้ว ถือว่าตัวแทนดีแทค มีเจตนาซ่อนเร้นปกปิดข้อเท็จจริง จึงไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนสภ.บ้านเป็ด ไว้แล้วเมื่อ 17มิ.ย.ที่ผ่านมา ”นางสกุณากล่าว

นางนนทกร  ทองเนื่อง

ด้านนางนนทกร  ทองเนื่อง อาชีพนักการบัญชี อายุ 49 ปี เจ้าของพื้นที่ 1 ไร่ ที่ติดเสาส่งสัญญาณ ห่างแค่ 2 เมตร กล่าวว่าสิ่งที่ชาวบ้านเป็นห่วง จากการมีเสารับส่งคลื่นมือถือ อยู่ใกล้ชุมชนพักอาศัย เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อคลื่นสมอง หรือในระยะยาวอาจเจ็บป่วยมะเร็ง ประการต่อมาเสารับส่งสัญญาณคลื่นมือถือ ก็เป็นสื่อทำให้เกิดฟ้าผ่า มายังบ้านพักอาศัยของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง การมีเสารับส่งสัญญาณ ชาวบ้านกลัวความไม่ปลอดภัยต่อคนในชุมชน จึงอยากให้รื้อถอนเสารับส่งสัญญาณไปตั้งจุดอื่นที่ห่างไกลชุมชน

นางนนทกร กล่าวอีดว่าที่ผ่านมาปัญหาการตั้งเสารับส่งสัญญาณใกล้ชุมชนบริเวณหน้าค่ายร.8 นี้ ชาวบ้านได้ไปร้องทุกข์ยังศูนย์ดำรงธรรมขอนแก่นแล้ว คาดว่าประมาณสัปดาห์หน้าจะเปิดให้ไกล่เกลี่ยระหว่างดีแทคกับชาวบ้าน อีกช่องทางได้ร้องเรียนผ่านทางโทรศัพท์ไปยังดีแทคเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับคืนมา ซึ่งความหวังของชาวบ้าน อยู่ที่การเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างชาวบ้านกับดีแทคและหน่วยงานรัฐ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26มิ.ย.นี้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเป็ด

   ด้านนายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน เปิดเผยว่ากรณีปัญหาของชาวบ้านรอบเสาสัญญาณรับส่งคลื่นดีแทค จุดใกล้ค่ายกรมทหารราบที่ 8 ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่นนั้น เพิ่งก่อสร้างเสร็จไปเมื่อ 5มิ.ย.63 ยังไม่ปล่อยสัญญาณ หากชาวบ้านยืนยันว่าดีแทค ทำขั้นตอนประชาพิจารณ์ไม่ถูกต้อง ทั้งมีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงหลอกให้ลงชื่ออนุญาตก่อสร้าง ก็สามารถยับยั้งการปล่อยสัญญาณและร้องขอให้รื้อถอนเสารับส่งสัญญาณได้

   ขั้นตอนคือชาวบ้านต้องนำปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมเอกสารต่างๆ ไปยื่นร้องเรียนยัง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. รวมถึงส่งเรื่องไปยังผู้บริหารดีแทค ที่สำนักงานใหญ่ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งเสารับส่งสัญญาณดังกล่าว จากการจัดทำประชาพิจารณ์ที่ไม่ถูกต้อง ขาดการรับฟังจากประชาชนในรัศมีรอบเสาส่งสัญญาณ เชื่อมั่นว่า ทางกสทช.จะรับฟังปัญหาและเข้ามาแก้ปัญหาให้กับชุมชนแห่งนี้

   นายปฏิวัติ กล่าวอีดว่ากรณีการจัดตั้งเสารับส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เป็นปัญหาเกิดขึ้นในหลายชุมชน รวมถึงต่างประเทศ ชุมชนไม่มั่นใจในความปลอดภัยต่อสุขอนามัย ของผู้อยู่อาศัยใกล้เสาส่งสัญญาณจนเกิดการฟ้องร้องให้รื้อถอน ซึ่งทางออกการตั้งสถานีรับส่งสัญญาณขนาดใหญ่นั้น โอเปอเรเตอร์สามารถใช้วิธีติดตั้งกล่องรับส่งสัญญาณขนาดเล็ก ซึ่งปล่อยคลื่นความถี่ต่ำ ที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสุขอนามัยประชาชน โดยติดตั้งกล่องรับส่งสัญญาณให้ถี่และครอบคลุมมากขึ้น อีกข้อเสนอคือ ควรใช้เสารับส่งสัญญาณร่วมกันของผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์มือถือ

   จุดที่น่าห่วงคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G จะทำให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ แข่งขันกันในการรับส่งสัญญาณ ซึ่งจะต้องติดตั้งเสารับส่งสัญญาณให้มากขึ้น โดยเฉพาะในย่านชุมชนหนาแน่นต้องมีสัญญาณที่เพียงพอ แย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด แต่ผลกระทบกับสุขอนามัของประชาชน ก็เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

   ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่อุปกรณ์เหล่านี้เป็นแหล่งแผ่ คลื่นวิทยุ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แม้จะมีคลื่นความถี่ต่ำ (คลื่นความถี่ต่ำกว่า 3,000 Hz เช่นไฟฟ้าในบ้าน) แต่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ได้ หากรับคลื่นแรงเกินควรหรือเป็นเวลานานเกินไป อันตรายไม่แพ้โทรศัพท์มือถือ และเสาส่งสัญญาณ ซึ่งเป็นแหล่งแผ่คลื่นความถี่สูง (ความถี่ระหว่าง 3,000 Hz ถึง 300,000 Hz) ที่อาจส่งผลเป็นโรคมะเร็งและโรคร้ายต่างๆได้.

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads