วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

คปภ.นำเสนองานวิจัย รับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม

คปภ.นำเสนองานวิจัย รับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

คปภ.นำเสนองานวิจัย รับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมงด้วยการประกันภัยจัดโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย


เมื่อเวลา08.30 น.วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ ห้องคอนเวนชัน โรงแรมอวานี ขอนแก่น แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ คปภ. เป็นประธานเปิดการสัมมนานำเสนอผลงานวิจัยและรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม พ.ศ. วัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมี ศ.สำเรียง เมฆเกรียงไกร หัวหน้าโครงการ รศ.ดร.ฐิติวดี ชัยวัฒน์ ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท ผศ.ดร.สุพัตรา แผนวิชิต ภาคเกษตรกร ภาคเกษตรกรรม และ หน.ส่วนราชการ ร่วมประชุม

ศ.สําเรียง เมฆเกรียงไกร

ศ.สําเรียง เมฆเกรียงไกร หัวหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงทางเกษตรปศุสัตว์ และประมงด้วยการประกันภัย กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อพัฒนาระบบประกันภัยให้รองรับความเสี่ยงของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ อีกทั้งเพื่อเสนอแนะแนวทางให้บริษัทประกันภัยช่วยรับภาระความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยงแทนภาครัฐและรองรับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ


การจัดการงบประมาณของรัฐบาลในการชดเชยเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนเพื่อให้ระบบประกันภัยร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเกษตรและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยขยายตัวและเติบโต เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการนำระบบประกันภัยเข้าไปรองรับความเสี่ยงภัยของเกษตรกรที่เหมาะสมกับไทย
เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยด้านเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ โดย
รูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ปัจจัยในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย แหล่งข้อมูล

   รวมถึงเกณฑ์การวัดหรือการประเมินความเสียหายการประกันภัยทางด้านเกษตรกรรม(พืชผล ปศุสัตว์ และประมง)ที่เหมาะสม รวมทั้งระบุปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการ เพื่อพัฒนากรอบแนวทางการจัดทำร่างกฎหมายการประกันภัยทางด้านเกษตรกรรม(พืชผล ปศุสัตว์และประมง)


   ศ.สําเรียง กล่าวอีกว่าประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับร่างกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการประกันภัยการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มีระบบประกันภัยรองรับความเสี่ยงของเกษตรกร ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลใช้เงินงบประมาณชดเชยเยียวยาเกษตรกรน้อยลง อันส่งผลดีกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการมีกฎหมายประกันภัยด้านเกษตรกรรม มีระบบประกันภัยที่ยั่งยืนและมั่นคงภายใต้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะรัฐสามารถจัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุนหรืออุดหนุนเบี้ยประกันภัยของเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่องผลิตภัณฑ์ประกันภัยมีความหลากหลาย ครอบคลุมพืชผล ปศุสัตว์ ประมง ทำให้รายได้ของเกษตรกรมีเสถียรภาพมากขึ้น ลดภาระในการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในระบบประกันภัย จะให้เกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า น่าเชื่อถือและรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรและเป็นแรงจูงใจในการทำประกันภัยด้านเกษตรกรรม

นายชูฉัตร ประมูลผล

นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เข้าร่วมการสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม ในครั้งนี้ ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และเป็นอาชีพที่ได้รับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทางรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการลดความเสี่ยงภัยโดยใช้ระบบการประกันภัยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง โดยในปี 2559 รัฐบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล โดยมีสำนักงาน คปภ. ร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ซึ่งท่านเลขาธิการ คปภ. ได้เสนอต่อที่ประชุมให้การปฏิรูปการประกันภัยพืชผลเป็นวาระแห่งชาติ และควรจัดให้มีกฎหมายเฉพาะทางด้านประกันภัยการเกษตร

นายชูฉัตร กล่าวและว่า สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมง ด้วยการประกันภัย โดยได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการศึกษาและวิจัย โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการเกษตร ช่วยรับภาระความเสี่ยงภัยและบริหารความเสี่ยงแทนภาครัฐ และสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย และจัดทำร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยเกษตรกรรม ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งพืชผล ปศุสัตว์ และประมง เพื่อรองรับการบริหารจัดการด้านการประกันภัยการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ช่วยให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยด้วยตนเองและมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และลดภาระทางด้านงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐบาล อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการประกันภัยและกฎหมายด้านเกษตรกรรม พืชผล ปศุสัตว์ และประมง กฎหมายประกันภัยด้านเกษตรกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งกลุ่มที่มีกฎหมายประกันภัยพืชผลเป็นการเฉพาะ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี


นอกจากศึกษากฎหมายดังกล่าวจากหลายประเทศแล้ว ยังเน้นไปที่กฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลีที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากโครงสร้างของกฎหมายมีบทบัญญัติที่ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการประกันภัยด้านเกษตรกรรม มีสาระสำคัญ อาทิเช่น การกำหนดประเภทของผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ครอบคลุมทั้งประเภทพืชผล ปศุสัตว์ และประมง การกำหนดรูปแบบการประกันภัย ที่เหมาะสมในแต่ละผลิตภัณฑ์ การกำหนดประเภทความเสี่ยงภัย อัตราเบี้ยประกันภัยและวิธีการประเมินความเสียหาย การกำหนดบทบาทภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกันภัย และระบบการประกันภัยต่อ และนอกจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่จัดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในการวิจัยและประเด็นสำคัญของร่างกฎหมาย ระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลได้แก่ สำนักงาน คปภ. ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้จัดประชุมกลุ่มย่อยไปแล้ว จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่เพาะปลูกของข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ของการเลี้ยงโคนม จังหวัดสกลนครเป็นพื้นที่ของการเลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดราชบุรีเป็นพื้นที่ของการเลี้ยงสุกร และ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่ทำการประมงเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยผลลัพธ์จากการศึกษาได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางด้านเกษตรกรรม ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งพืชผล ปศุสัตว์ และประมง เพื่อรองรับการดำเนินการการประกันภัยการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และลดภาระทางด้านงบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
จากการดำเนินงานของการจัดประชุมย่อยจำนวน 5 จังหวัดที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการนำระบบประกันภัยเข้าไปรองรับความเสี่ยงภัยด้านการเกษตร เพื่อระดมสมองและเป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็น ทำให้ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการศึกษาและวิจัยตามโครงการฯ และนอกจากนั้นทำให้รับทราบปัญหาอุปสรรคและความเสี่ยงภัยในการเกษตรตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้การพัฒนากรอบแนวทางการจัดทำร่างกฎหมายการประกันภัยทางด้านเกษตรกรรมให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด


ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่างกฎหมายการประกันภัยทางด้านเกษตรกรรมให้มีรูปแบบที่ชัดเจน มีความยืดหยุ่น เพื่อเกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรคระบาด หรือ ภัยธรรมชาติ ได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยพืชผลที่มีความหลากหลาย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ระบบประกันภัยไปช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. พร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกลไกทางด้านประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงด้านเกษตรกรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองด้านประกันภัย และได้รับประโยชน์จากระบบประกันภัยอย่างเต็มที่


การสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรม โดยการสัมมนาในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจัดที่กรุงเทพ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก และทางคณะผู้วิจัยได้มีการปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรมตามข้อเสนอแนะและข้อสังเกตุจากท่านเลขาธิการ คปภ. และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งที่ 2 นี้ ก็เพื่อนำข้อเสนอแนะแนวทางความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำมาใช้ในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติประกันภัยเกษตรกรรมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรที่เป็นผู้ทำประกันภัยเกษตรกรรมมากที่สุด.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads