วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

“ดร.อรรถพล”ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเวทีสัมมนาวิชาการ ขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบัน 

“ดร.อรรถพล”ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเวทีสัมมนาวิชาการ ขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบัน 
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“ดร.อรรถพล”ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเวทีสัมมนาวิชาการ ขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบัน 

ย้ำโลกยุคใหม่นอกจากการเรียนการสอนต้องปรับให้ผู้เรียนเท่าทันเทคโนโลยีแล้วต้องหล่อหลอมเรื่องของของศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬาให้ผู้เรียนทุกช่วงชั้นได้เรียนรู้ด้วย ถึงจะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์พร้อมออกสู่โลกแห่งการทำงาน


  วันนี้ (19พ.ย.) ที่หอประชุมประภากรคอนเวนชั่นฮอลล์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการและเตรียมความพร้อมผู้บริหาร เรื่อง“การขับเคลื่อนการศึกษาไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน”โดยมี ผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการบดี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยดร.ธีนิดา บัณฑรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, ผศ.ดร.วานิชประเสริฐพร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผู้บริหารด้านการศึกษา นักศึกษาสาขาการศึกษา ผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ภาคอีสาน ผู้แทนหน่วยงานเอกชนและศิษย์เก่า เข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก


  ดร.อรรถพล สังขวาสี

ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยเผชิญการระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น พบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและการศึกษาของผู้เรียนมากขึ้น ภาพที่เห็นชัดคือ 1.ได้ใช้ระบบการเรียนออนไลน์มากขึ้น 2.เกิดอาชีพใหม่จากสถานการณ์ระบาดโรคช่วง 2 ปี โดยที่ประชุมเศรษฐกิจ เมืองดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ ระบุถึง 10 อาชีพในโลกที่จะหายไป และ 10 อาชีพที่จะเกิดใหม่ในโลก
    โดยจะเริ่มเห็นแล้วว่า อาชีพในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก อาทิ นักศึกษาส่วนหนึ่งผันตัวไปเป็นยูทูปเปอร์ มีระบบการค้าขายออนไลน์ การสั่งอาหารทางออนไลน์เกิดขึ้น หรือในโลกอุตสาหกรรมได้เกิด Robotic หรือใช้หุ่นยนต์ทำงานอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีคนควบคุม มีการใช้ AI เข้ามาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น ซึ่งในเวทีสัมมนาวิชาการด้านการศึกษาวันนี้ พบว่ามีผู้บริหาร นักศึกษาสาขาด้านการศึกษา สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก


   ดร.อรรถพล กล่าวอีกว่าสิ่งที่อยากนำเสนอกับผู้ร่วมสัมมนาวันนี้ คือจะจัดการศึกษาอย่างไรให้สอดคล้องกับโลกที่ผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะโลกของอาชีพ วิธีการสอน บทบาทของผู้อำนวยการจะต้องปรับเปลี่ยนจากไดเรคเตอร์ มาเป็นการบริหารจัดการคนให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของสถานประกอบการอย่างแท้จริง และต้องสอดคล้องกับโลกการทำงานยุคปัจจุบันด้วย


   ดร.อรรถพล กล่าวด้วยว่าอย่างไรก็ตามในการปรับเปลี่ยนโลกของการศึกษาโลกของการประกอบวิชาชีพดังกล่าวจะมองแต่ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่ได้ ปรัชญาสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ คือต้องการให้บูรณาการเรื่องศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา ให้กับตัวผู้เรียนด้าย ถือเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมของคนหรือทรัพยากรบุคคลก่อนเข้าสู่โลกการทำงานจริง โดยเรื่องศาสนานั้นทุกศาสนาสอนให้คนมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม สอนให้เป็นคนดี อาจเป็นการสอนสอดแทรกในวิชาการหรือกิจกรรม หรือบูรณาการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศึกษาเรื่องของศาสนาก่อน


    ดร.อรรถพล กล่าวเสริมต่อไปว่าด้านวัฒนธรรม ถือเป็นสิ่งจำเป็นของคน ที่ต้องรู้กำพืดตน รู้ประวัติศาสตร์ของตน รู้ประวัติศาสตร์ประเทศ  ส่วนที่สามด้านการกีฬา ทำให้ผู้เรียนมีร่างกายแข็งแรง มีน้ำใจนักกีฬา ยอมรับในกฎกติกา พร้อมออกไปประกอบอาชีพในโลกแห่งความเป็นจริง และส่วนสุดท้ายด้านศิลปะ ให้ผู้เรียนรู้จักคิดสร้างสรรค์ด้านอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นหากหลอมรวมปรัชญาทั้งสี่อย่างเข้ากับตัวบุคคล สอนในการเรียนตลอดทุกชั้นปีการศึกษา จะทำให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ เสร็จแล้วจึงเติมความทันสมัย คือเทคโนโลยี AI ให้กับตัวผู้เรียน จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพปัจจุบันได้
   ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในท้ายสุดว่าทั้งนี้ปรัชญาสำคัญทั้ง 4 มีในหลักสูตรแล้ว โดยแผนการศึกษาของชาติ 20 ปี ที่เกิดปัญหาการขับเคลื่อนไร้ทิศทาง ทางรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ ประสานกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ร่วมกันผลักดันแผนการศึกษาของชาติ ให้ไปอยู่เทียร์สองเท่ากับแผนความมั่นคง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการศึกษาของชาติมี 11 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง จะได้เกิดการขับเคลื่อนอย่างถูกต้อง ตามแนวทางปรับใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก


   ผศ.ดร.กนกอร  บุญมี

ด้าน ผศ.ดร.กนกอร  บุญมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดการสัมมนาในวันนี้ขึ้นด้วยเหตุผล ประการแรกนั้นคือ ร่วมแสดงความยินดีที่ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งท่านเป็นศิษย์เก่า ของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและบริหารการศึกษา นับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนืส่วนเหตุผลที่สำคัญ ประการที่ 2 คือในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำสูงสุด ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยท่านได้กำหนดนโยบายในการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้กับผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาก ที่จะนำนโยบายของท่านไป ใช้ในการจัดการศึกษา ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตามที่กระทรวงได้กำหนด จึงได้เรียนเชิญท่านมาเพื่อถ่ายทอดโดยตรง และเป็นโอกาสที่ดี ที่ท่านให้เกียรติเรา มาถ่ายทอดด้วยตัวเอง และต้องขอขอบคุณท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติมาหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกลับมาเยี่ยมเยือน มหาวิทยาลัยเราอีกครั้ง มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างสูง


  ผศ.ดร.กนกอร กล่าวต่ออีกว่าสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบแนวทางนโยบายการศึกษาและจุดเน้นสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในด้านต่างๆ ตลอดจนเพื่อให้นักศึกษาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เตรียมพร้อมการเป็นผู้บริหารที่ทันสมัยและบริหารจัดการด้านการศึกษาได้ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้บริหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยและสร้างเครื่อข่ายความร่วมมือในเชิงบริหารและวิชาการ กับผู้บริหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผศ.ดร.วานิช  ประเสริฐพร


   ส่วน ผศ.ดร.วานิช  ประเสริฐพร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก – ปริญญาโท- ปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาความรอบรู้ มีความสามารถในการจัดการศึกษา มีทักษะในการเรียนรู้สมัยใหม่ ให้มีความพร้อมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์เห็นความสำคัญในโครงการนี้ ซึ่งเป็นการนำแนวนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและการจัดการสมัยใหม่มาถ่ายทอดจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้เชื่อมโยงต่อกัน เพื่อ
เป็นการพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้จริง และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเรียน การจัดทำงานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาความสำเร็จในการศึกษาเป็นอย่างดี และนอกจากนั้นยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษาและสร้างจุดเด่นให้คนสนใจมาเรียนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต.


  

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads