วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

“มข.”จับมือ “บ.น้ำตาลราชบุรี”หนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“มข.”จับมือ “บ.น้ำตาลราชบุรี”หนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“มข.”จับมือ “บ.น้ำตาลราชบุรี”หนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับบริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG(Bio-CrcularGreen Economy) ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่า และศักยภาพการในการแข่งขันโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น


เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิวิคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับ บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นพร้อมด้วยนางอารยา อรุณานนท์ชัย ,นางจุฑาทิพย์ อรุณานนท์ชัย ,ดร. จุทามาศ อรุณานนท์ชัย กรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลราชบุรี ร่วมลง ในการนี้ มีนายสุนทร อรุณานนท์ชัย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นสักขีพยาน

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับบริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG(Bio-CrcularGreen Economy) ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่า และศักยภาพการในการแข่งขันโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น


รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความยินดียิ่งในการให้ร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ 1) ร่วมมือในการจัดการศึกษาและพัฒนากำลังคน ได้แก่ การปรับปรุงและ พัฒนาหลักสูตร จัดฝึกอบรม การเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะด้นอ้อยและน้ำตาล ให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ,คณะเกษตรศาสตร์, คณะเทคโนโลยี และคณะวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้ไปฝึกงานและสหกิจศึกษา ณ บริษัทในกลุ่มโรงงานน้ำตาลราชบุรี 3) สนับสนุนงานด้านวิชาการและวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง 4) สนับสนุนด้านสถานที่และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักวิจัยสามารถทำการค้นคว้าในโครงการพิศษได้ตามความเหมาะสม และ 5) ให้ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ของกลุ่มบริษัทโรงงานน้ำตาลราชบุรี เกษตรกร และบุคลากรของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนากำลังคนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อเพิ่มศักยภาพการในการแข่งขันของตลาดได้อย่างยั่งยืนต่อไป

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย

ด้าน นายสุนทร อรุณานนท์ชัย กล่าวว่า บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด ได้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการร่วมมีอระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทธุรกิจเอกชนในด้านการศึกษา การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการองค์ความรู้ การวิจัย การพัฒนา เทตโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนห้องถิ่น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(crcuiar economy) เศรษฐกิจสีเขียว (green economy) และการแปรรูปชีวมวล(bio efnery) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเพิ่มมูลค่า และศักยภาพการในการแข่งชันระดับประเทศ.

นางอารยา  อรุณานนท์ชัย

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads