วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ


เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ที่ศาลากลางบ้านนาชุมแสง ม.10 ต.นาชุมแสง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และจุดที่ 2 ศาลากลางบ้านวังขอนแดง ม.8 ต.หนองกุงธนสาร อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ภายใต้การอำนวยการของ ดร. สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จังหวัดขอนแก่น นายชัยนรินทร์ เพ็ชรแสน ,นายถวิลกานต์ ชาวกะตา ทีมงานจัดการหนี้ฯ/อนุกรรมการจังหวัด ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ
การดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวที่รัฐจะต้องรับภาระในการจัดสรรชดเชยให้กับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ เงินต้นครึ่งหลัง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยของเงินต้นเดิม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,481.657 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2568-2580 ให้กับธนาคารที่เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ จำแนกตามข้อมูลของแต่ละธนาคารได้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส. ) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยให้กับธนาคารทั้ง 4 แห่ง เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ 50,621 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 15,481.657 ล้านบาท กรณีเกษตรกรมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถชำระหนี้ได้ และได้ขอให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทน ให้กองทุนฟื้นฟูฯ เสนอขอรับการจัดสรรงบเพื่อชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการชำระหนี้ตามสัญญา.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads