วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

“คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.”ปรับกลยุทธ สู้วิกฤติ โควิด-19

“คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.”ปรับกลยุทธ สู้วิกฤติ โควิด-19
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.”ปรับกลยุทธ สู้วิกฤติ โควิด-19


เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ ชั้น 2 ห้องทำงาน คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และการบัญชี มข .รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.ได้นำกลยุทธ์ขับเคลื่อนฝ่าวิกฤติ COVID-19 พร้อมวางรากฐานพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ออกมาเปิดเผยชี้แจงต่อสื่อมวลชน ในเรื่องดังกล่าวข้างต้น โดยหันมาพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การวัดการประเมินผล  การเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์และบุคลากรเพื่อเข้าสู้ระบบการศึกษาแบบออนไลน์   การจัดสรรทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และการจัดหาอุปกรณ์การเรียน

รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช

รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวทั้งระบบโดยหันมาพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การวัดการประเมินผล  การเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์และบุคลากรเพื่อเข้าสู้ระบบการศึกษาแบบออนไลน์   การจัดสรรทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และการจัดหาอุปกรณ์การเรียน เช่น Tablet, Computer PC, Computer Notebook ฯลฯ  เพื่อให้นักศึกษายืมเรียน การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งห้องเรียนออนไลน์ ระบบ wifi ที่มีความเสถียรสูง เป็นต้น


รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวอีกว่าคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งคณะที่มีการเตรียมความพร้อมและมีการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาออนไลน์ ในสถานการณ์ COVID-19  โดย รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงการปรับตัวของคณะในครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินการออกประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่นเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 หลายฉบับ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ดังนั้นผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการสำรวจนักศึกษาของคณะจำนวน 740 คน  เกี่ยวกับความพร้อมการเรียนระบบออนไลน์และความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า อุปกรณ์ที่นักศึกษาใช้ในการเรียน-การสอนออนไลน์ อันดับแรก คือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือPC (ร้อยละ 66.89) รองลงมา คือ Smart Phone/Tablet (ร้อยละ 33.11)  สิ่งสนับสนุนที่ต้องการ อันดับแรกคือ Sim Card สำหรับใช้งาน Internet / แพกเกจสำหรับ Internet ฟรี (ร้อยละ  48.78) รองลงมา คือ อุปกรณ์สำหรับใช้งานเพื่อการเรียน-การสอนออนไลน์ เช่น Smartphone, Tablet, Computer, Computer Notebook ฯลฯ  (ร้อยละ 47.30)  จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การขยายเวลาจ่ายค่าเทอม (ร้อยละ 56.76) รองลงมาคือทุนการศึกษา (ร้อยละ 27.97) และการจ้างงาน Part Time (ร้อยละ 10.00) ตามลำดับ
รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าวด้วยว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว คณะฯ จึงพิจารณาดำเนินการมาตรการเพื่อช่วยเหลือนักศึกษา ดังนี้ 1.การให้ทุนการศึกษา และการช่วยเหลือด้านการเงิน ประกอบด้วย ทุนการศึกษาของคณะฯ (เพิ่มเติมจากที่จัดสรรไว้ปกติทุกปี)  เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในภาคพิเศษ ปีการศึกษา 2562 และภาคต้น ปีการศึกษา 2563 รวม รวมจำนวนมากว่า 120 ทุน ประกอบด้วย ทุนกิจกรรมจิตอาสาแก่ส่วนรวม ชุมชนและสังคม  ทุนละ 5,000 บาท  จำนวน 20 ทุน รวม 100,000 บาท ทุนนักศึกษาช่วยงานกิจกรรมภายใต้หลักสูตร KKBS ทุนละ 4,000 บาท จำนวน 50 ทุน รวม 200,000 บาท  ทุนจ้างนักศึกษาช่วยงานอาจารย์ในการผลิตสื่อและบทเรียนออนไลน์ทุนละ 12,000 บาท  จำนวน 50 ทุน รวม 600,000 บาท นอกจากนั้นยังมีทุนการศึกษาจากชมรมศิษย์เก่า และชมรมผู้ปกครอง อีกจำนวนหนึ่งและเงินกู้ยืมฉุกเฉินจากชมรมผู้ปกครอง
2. มาตรการและแนวทางการช่วยเหลือนักศึกษาในการเตรียมพร้อมเรียนออนไลน์ของคณะทาง คณะฯได้จัดหาคอมพิวเตอร์แทบเล็ต เพื่อให้นักศึกษาสามารถยืมเป็นอุปกรณ์การเรียนได้ในปีการศึกษา 2563 จำนวนประมาณ 80 ชุด  เตรียมงบประมาณสำหรับสนับสนุนการใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี 3 เดือน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดสรรซิมการ์ด True ที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ และระบบ E-learning KKU ของมหาวิทยาลัยฟรี การจัดทำฐานข้อมูล Part Time Job Database เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานนอกเวลาเรียน การจัดอบรม Online Training เพื่อเพิ่มทักษะให้นักศึกษา โดยศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศแห่งอาชีพ (Career Excellent Center : CEC) ภายใต้ภารกิจด้านพัฒนานักศึกษา


3. การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ และการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน
ปรับปรุงระบบ Wi-Fi โดยการติดตั้งจุดกระจายสัญญาณ 48 จุด เรียบร้อยแล้ว การสร้างห้องบันทึกการสอนออนไลน์ พร้อมชุดอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 3 ห้อง (ห้องขนาดใหญ่ จำนวน 1 ห้อง และห้องขนาดเล็ก จำนวน 2 ห้อง) การปรับปรุงห้องเรียนชั้น 1 เป็นห้องประชุมเอนกประสงค์และห้อง Smart Classroom (จุนักศึกษาได้มากกว่า 200 คน)  เพิ่มเติมอุปกรณ์ในห้องเรียน จำนวน 10 ห้อง เพื่อให้สามารถสอนออนไลน์ได้ โดยติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อ Tablet ของอาจารย์ กับคอมพิวเตอร์ห้องเรียนและเครื่องฉายภาพและ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณภาพแบบไร้สาย Wireless Presenter  จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุสนับสนุนการเรียนการสอนและการทำงาน สำหรับอาจารย์ และสายสนับสนุนทุกคน ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์โน็ตบุค, แทบเล็ต, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์เสริมอื่นๆเพื่อรองรับวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ จัดซื้อโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings แบบ Pro  ที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมในการเรียน-ประชุมออนไลน์ พร้อมกันได้ 300 คน โดยไม่จำกัดระยะเวลา สำหรับคณาจารย์และบุคลากร KKBS จำนวน 20 ไลเซนส์  เตรียมการผลิตสื่อออนไลน์ เพื่อสอนผ่าน E-leaning และ Online Platform (รูปแบบเดียวกับ Skilllane, Udemy, Coursera) รองรับการเรียนการสอนรายวิชาในหลักสูตร และรายวิชาที่สะสมหน่วยกิต และ Non-degree  จัดโครงการอบรมอาจารย์ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์  ซอฟต์แวร์สำหรับการสอนออนไลน์ การออกแบบเนื้อหาบทเรียนออนไลน์  การออกและตรวจข้อสอบ และการประเมินผลออนไลน์  จัดโครงการอบรมสายสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์เพื่อการปฏิบัติงานจากบ้าน (Work From Home) การพัฒนางานและออกแบบกระบวนการทำงานรูปแบบออนไลน์ และระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานจากบ้าน (Work From Home)  สนับสนุนค่าโทรศัพท์สำหรับบุคลากรสายวิชาการ เดือนเมษายน 2563 เดือนละ 500 บาท.
มาตรการช่วยเหลือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/สังคม/และประชาชน ทางคณะฯ ดำเนินการสำรวจความต้องการความช่วยเหลือของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะนำผลมาพิจารณาดำเนินการ ผลการสำรวจข้อมูลในเบื้องต้น ผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือในการสนับสนุนด้านการอบรม การให้คำปรึกษา การทำวิจัย ดังนั้น ความช่วยเหลือของคณะฯ มีดังนี้
      การจัดหลักสูตรฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการทำวิจัย ผ่านศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ ทั้ง 6 ศูนย์ฯภายใต้คณะฯ ประกอบด้วย  ศูนย์เรียนรู้การลงทุน  ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสังคม  ศูนย์นวัตกรรมธุรกิจและผู้ประกอบการอัจฉริยะ  ศูนย์เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอีเว้นท์และอุตสาหกรรมบริการแบบครบวงจร  ศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ และนอกจากนั้นยังดำเนินการโดยกลุ่มอาจารย์ และคณาจารย์รายบุคคลด้วย (ขณะนี้มีหลักสูตรฝึกอบรม ที่เสนอเบื้องต้นมากว่า  10 หลักสูตร โดยจะเริ่มจัดอบรมเดือน พค. 2563)
     การจัดทำฐานข้อมูลความต้องการความช่วยเหลือของผู้ประกอบการ โดยนำผลการสำรวจมาจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป   การรวบรวมข้อมูลมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ เพื่อสรุปเป็นภาพรวมและจัดทำ Info graphic เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไปเข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย   การร่วมมือกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่การจัดอบรม MAT Vaccine For Business โดย Facebook Live Series เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยให้ยืนได้ในยุคโควิด  ทุกวันอังคาร เวลา 20.00 น. เริ่มวันที่ 14 เมษายน 2563
รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช   คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวทิ้งท้ายว่า ในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ การที่โลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 เชื่อว่าทุกคนย่อมมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เช่นกัน ถือเอาโอกาสในครั้งนี้ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์และยกระดับศักยภาพบุคลากร เพราะเชื่อว่าหลังจากพวกเราผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ พฤติกรรมของผู้เรียนย่อมเปลี่ยนไป รวมถึงการปรับตัวของภาคการศึกษา ซึ่งจะเข้าสู่ระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น อีกปัจจัยหนึ่ง คือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในภาคการศึกษาภาคประชาสังคมและ ภาคธุรกิจ จะทำให้เราสามารถเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาและปรับตัวได้เร็วในภาวะวิกฤติ นั้นเอง.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads