วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

 “สกจ.ขอนแก่น” ติวเข้ม!เกษตรกรบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง

 “สกจ.ขอนแก่น” ติวเข้ม!เกษตรกรบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “สกจ.ขอนแก่น” ติวเข้ม!เกษตรกรบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง


สภาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ให้องค์ความรู้จัดการน้ำชุมชนด้วยตนเอง และการปลูกผักปลอดภัย หาตลาดรองรับ ตลอดจนแนวทางการบูรณาการกับส่วนราชการ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านองค์ความรู้ ฯลฯ ให้กับกลุ่มเกษตรกร


เมื่อวันที่ 8 ม.ค.64 นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยพนักงานส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร ลงพื้นที่บ้านโคกล่าม ต.ท่าวัด อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น เพื่อประชุมหารือ การบริหารจัดการน้ำชุมชน(สสน.) เติมระบบโซลาเซลล์ และส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย การหาตลาดรองรับ ตลอดจนแนวทางการบูรณาการกับส่วนราชการ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านองค์ความรู้ ฯลฯ ให้กับกลุ่มเกษตรกร ต่อจากนั้นเข้าพบ นายก อบต.โนนพะยอม อ.ชนบท เพื่อขับเคลื่อนงานการบริหารจัดการน้ำชุมชนบ้านห้วยอึ่ง (ร่วมกับสสน.) โดยมีนายโกวิทย์ ลารังสิทธิ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น(เขตอ.ชนบท)เป็นผู้ประสานงานเเละเป็นประธานกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนบ้านห้วยอึ่ง

นายสุรสิทธิ์ เคนพรม

นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าการบริหารจัดการน้ำชุมชน(สสน.) เติมระบบโซลาเซลล์ และส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย การหาตลาดรองรับ ตลอดจนแนวทางการบูรณาการกับส่วนราชการ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านองค์ความรู้ ฯลฯ ให้กับกลุ่มเกษตรกร ให้กับเกษตรกรพื้นที่ นั้นได้ดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง ปัจจุบัน ให้สามารถบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยตนเอง เพื่อเตรียมพร้อมรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น รวมทั้ง เป็นต้นแบบพัฒนาและขยายผลเป็นเครือข่ายบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน


นายสุรสิทธิ์ กล่าวอีกว่าโดยได้ดำเนินงานน้อมนำแนวพระราชดำริ ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือสำรวจตนเอง เก็บข้อมูล จัดทำแผนที่ ผังน้ำ สมดุลน้ำ และแผนพัฒนาแหล่งน้ำ เชื่อมโยงข้อมูล ผังงาน เข้ากับพื้นที่จริง ให้สามารถเข้าใจบริบทของพื้นที่ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดย สสนก. ทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจริง อำนวยความสะดวกรวมทั้ง เชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน เกิดความมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ร่วมกับท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนมีความเป็นเจ้าของ เกิดรูปแบบการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน พึ่งพาตัวเองได้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้เกิดความมั่นคงในทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และชีวิตความเป็นอยู่.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads