วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

“มข.”พัฒนาคุณภาพ ‘ปลาส้ม ส้มปลาตอง’เพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์

“มข.”พัฒนาคุณภาพ ‘ปลาส้ม ส้มปลาตอง’เพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“มข.”พัฒนาคุณภาพ ‘ปลาส้ม ส้มปลาตอง’เพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์


มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดมนักวิจัยลงชุมชน ยกระดับคุณภาพ ‘ปลาส้ม ส้มปลาตอง’ พร้อมออกแบบบรรจุภัณฑ์น่าซื้อ มุ่งช่วยผู้ประกอบการผลกระทบ COVID-19เพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์

   เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า จากการที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำโดย เจ้าหน้าที่ นักประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่่ติดตามและประเมินผลโครงการ “การยกระดับคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ส้มปลาตอง หรือส้มปลาตัวเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์” ผลงานการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์คณิต วิชิตพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการฯ และคณะ ในกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Tech transfer to community) ในการนี้มีตัวแทนจากกลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น คณะผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม ณ สุขศาลาบ้านหนองผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา
โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการสำรวจ ประเมินศักยภาพและความต้องการของชุมชน พบว่า กลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ภูมิประเทศที่อยู่ติดกับเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และทำประมงน้ำจืด และประกอบอาชีพเสริมอื่น ๆ นอกฤดูกาลทำนา อาทิ การปลูกผัก การทอผ้า และการรับจ้างทั่วไป โดยสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ที่เป็นที่รู้จักและมีวางขายในท้องถิ่นและชุมชนใกล้เคียง คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ำจืด ที่สำคัญได้แก่ ปลาส้ม ส้มปลาตอง ส้มปลาตัว และปลาตากแห้ง
ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลสถานภาพและศักยภาพของชุมชน ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาภายใต้โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระยะที่ 2 โดยการดำเนินงานของคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา พบประเด็นปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชนคือ ยังขาดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตสินค้า การควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้า ขาดองค์ความรู้ในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งแนวทางในการจำหน่ายและการขยายช่องทางการตลาด


จากข้อมูลดังกล่าวอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จึงเชื่อมโยงนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ สังกัดคณะเทคโนโลยี คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณิต วิชิตพันธุ์ ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านปลาส้มมาร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มาร่วมเป็นทีมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับชุมชนเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าในชุมชนต่อไป
ทั้งนี้ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Tech transfer to community) เป็นกิจกรรมในแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area-based Innovation for Community) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ผ่านกลไกการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อมุ่งยกระดับผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานนวัตกรรมของประเทศไทย ต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads