วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

คปภ.จ.ขอนแก่น จัด”โครงการ 1ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (ประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี)

คปภ.จ.ขอนแก่น จัด”โครงการ 1ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (ประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี)
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

คปภ.จ.ขอนแก่น จัด”โครงการ 1ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (ประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี)


พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี และกิจกรรมเสวนา “กินปลาปรุงสุก ถูกสุขอนามัย ลดความเสี่ยงภัย ด้วยประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี”


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี และกิจกรรมเสวนา “กินปลาปรุงสุก ถูกสุขอนามัย ลดความเสี่ยงภัย ด้วยประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี” โดยมี ศ.นพ. ณรงค์  ขันตีแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ดร.สมยงค์  แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ,น.ส.ปรียดา พ่อค้าช้าง ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ.ภาค 3 (ขอนแก่น) ,นางพานทิพย์  บุญศรี ผู้อำนวยการ คปภ.จังหวัดขอนแก่น,นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ,นายสุรสิทธิ์  เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ,นพ.สมบัติ  แทนประเสริฐสุข ที่ปรึกษาฝ่ายสินไหมสุขภาพ บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน),น.ส.ดาเนตร  วันทนีย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน กำกับผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เกษตรกร และประชาชนทั่วไปในจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 150 คน

  

น.ส.ปรียดา พ่อค้าช้าง ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ.ภาค 3 (ขอนแก่น) กล่าวว่าความเป็นมาของโครงการดังกล่าว ด้วยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)โดยสายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค ได้จัดทำโครงการ 1 ภาค 1ผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดให้ สำนักงาน คปภ. ภาค 1-9คัดเลือกผลิตภัณฑ์ของจังหวัดภายใต้การกำกับดูแล ภาคละ 1 ผลิตภัณฑ์เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกไปพัฒนาเป็นกรมธรรม์ประกันภัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆตลอดจนเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต้านการประกันภัยให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนในท้องถิ่นให้เข้าถึงระบบประกันภัยได้ตรงกับความต้องการอีกทั้งเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้าถึงระบบประกันภัย และสามารถนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม


น.ส.ปรียดา กล่าวด้วยว่าจังหวัดขอนแก่น ได้รับคัดเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องในการจัดทำโครงการ 1 ภาค 1ผลิตภัณฑ์ โดยคัดเลือกโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มปลาน้ำจืดแบบมีเกล็ด โดยวิธีการปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาหมกไฟ ปลาร้าที่เป็นกลุ่มปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขาว ทำให้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และพัฒนาเป็นมะเร็งท่อน้ำดี และจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีอยู่ระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งเป็นการสูญเสียชีวิตในช่วงวัยแรงงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศตามมา


น.ส.ปรียดา กล่าวเพิ่มเติมว่าดังนั้น การนำระบบประกันภัยเข้าไปรองรับความเสี่ยงดังกล่าว จึงถือเป็นเครื่องมือหรือทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนในการบริหารความเสี่ยงในชีวิต สำหรับการดำเนินงานในวันนี้ ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังนี้ การลงนามในบันทึกตกลงความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี ระหว่างสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูแลพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่นสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินจังหวัดขอนแก่น ชมรมประกันวินาศภัยจังหวัดขอนแก่น และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค 3 (ขอนแก่น) อีกทั้ง การเสวนาในหัวข้อ “กินปลาปรุงสุก ถูกสุขอนามัย ลดความเสี่ยงภัยด้วยประกันภัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี” โดยมีวิทยากรจากจากหน่วยงานเครือข่าย เป็นผู้ให้ความรู้ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานคปภ. และบริษัท ไทยวิวัฒน์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตลอดจนกิจกรรมตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับของสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads